วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำคัญขนาดไหน?
ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีอัตราเสียชีวิตสูงในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยลดความรุนแรง ลดการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ และลดการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ดี
ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อนฤดูที่มีการระบาด (ฤดูฝนและฤดูหนาว) และฉีดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ทำไมเราจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์
วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีแบบ 3 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์ ซึ่งในวัคซีนจะสามารถป้องกัน influenza A ได้เหมือนกัน 2 ชนิด แต่จะแตกต่างกันที่จะป้องกัน influenza B ได้ 1 ชนิดในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ และป้องกันได้ 2 ชนิดในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
เนื่องจากการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย จะมีไข้หวัดใหญ่อยู่ 4 สายพันธุ์ที่หมุนเวียนกลับมาเป็นระลอกทุกปี การใช้วัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์จะเน้นที่ป้องกันสายพันธุ์ที่ระบาดมากที่สุด 3 สายพันธุ์แรกเท่านั้น การป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงเป็นการฉีดวัคซีนชนิดไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ดังต่อไปนี้
1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N
2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/ H3N2
3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
4. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata
ควรเริ่มฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เมื่อไหร่?
ช่วงที่อายุเหมาะสมสำหรับเริ่มต้นเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป (ต่ำกว่า 10 ปี ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์) และควรได้รับวัคซีนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากวัคซีนจะมีการเปลี่ยนชนิดสายพันธุ์ย่อยไปทุกปี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับการฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อเป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน โดยสามารถแบ่งตามอายุของผู้เข้ารับการฉีดได้ดังนี้
1. สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ขวบ ให้ฉีด 2 เข็มในปีแรก โดยเว้นระยะห่างการฉีดครั้งละ 1 เดือน หากในปีแรกได้ฉีดเพียงครั้งเดียว ให้ฉีด 2 ครั้ง ในปีถัดมา แล้วหลังจากนั้นค่อยฉีดปีละครั้งได้
2. บุคคลทั่วไปฉีด 1 เข็ม และต้องมารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปี
3. และเนื่องจากปี 2564 มีการเริ่มฉีดวัคซีนโควิด - 19 จำเป็นต้องเว้นระยะห่างกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน
กลุ่มที่เสี่ยงที่ควรรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
1. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี (ต่ำกว่า 10 ปี ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์)
2. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
3. หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่อยู่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
6. ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
7. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยมีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก. และคำนวณค่า BMI ได้มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อ ตร.ม.
วิธีปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อป่วย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่อาการจะคล้ายหวัดทั่วไป แต่ไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงมากกว่าอาการมักจะปรากฏทันทีในลักษณะของไข้สูง 38.5 - 40 องศา รู้สึกหนาว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา หรือปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก นอกจากนี้อาจมีอาการคัดจมูก เบื่ออาหาร มีน้ำมูกไหล ไอ้แห้งๆร่วมด้วย
เมื่อเป็นโรคดังกล่าวแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีแบบประคับประคองอาการ หากไม่มีอะไรแทรกซ้อนหรือทรุดหนัก จะสามารถหายได้เองภายใน 5- 7 วัน โดยไม่ต้องนอนรักษาโรงพยาบาล
วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีแบบ 3 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์ ซึ่งในวัคซีนจะสามารถป้องกัน influenza A ได้เหมือนกัน 2 ชนิด แต่จะแตกต่างกันที่จะป้องกัน influenza B ได้ 1 ชนิดในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ และป้องกันได้ 2 ชนิดในวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์
เนื่องจากการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย จะมีไข้หวัดใหญ่อยู่ 4 สายพันธุ์ที่หมุนเวียนกลับมาเป็นระลอกทุกปี การใช้วัคซีนชนิด 3 สายพันธุ์จะเน้นที่ป้องกันสายพันธุ์ที่ระบาดมากที่สุด 3 สายพันธุ์แรกเท่านั้น การป้องกันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงเป็นการฉีดวัคซีนชนิดไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ดังต่อไปนี้
1. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/H1N
2. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A/ H3N2
3. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria
4. ไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata
ควรเริ่มฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เมื่อไหร่?
ช่วงที่อายุเหมาะสมสำหรับเริ่มต้นเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป (ต่ำกว่า 10 ปี ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์) และควรได้รับวัคซีนทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากวัคซีนจะมีการเปลี่ยนชนิดสายพันธุ์ย่อยไปทุกปี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรับการฉีดวัคซีนทุกปีเพื่อเป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรคให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน โดยสามารถแบ่งตามอายุของผู้เข้ารับการฉีดได้ดังนี้
1. สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 8 ขวบ ให้ฉีด 2 เข็มในปีแรก โดยเว้นระยะห่างการฉีดครั้งละ 1 เดือน หากในปีแรกได้ฉีดเพียงครั้งเดียว ให้ฉีด 2 ครั้ง ในปีถัดมา แล้วหลังจากนั้นค่อยฉีดปีละครั้งได้
2. บุคคลทั่วไปฉีด 1 เข็ม และต้องมารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปี
3. และเนื่องจากปี 2564 มีการเริ่มฉีดวัคซีนโควิด - 19 จำเป็นต้องเว้นระยะห่างกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อย่างน้อย 1 เดือน
กลุ่มที่เสี่ยงที่ควรรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
1. เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี (ต่ำกว่า 10 ปี ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์)
2. ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
3. หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่อยู่ในระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด
4. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
5. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
6. ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ
7. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน โดยมีน้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก. และคำนวณค่า BMI ได้มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อ ตร.ม.
วิธีปฏิบัติตัวเบื้องต้นเมื่อป่วย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่อาการจะคล้ายหวัดทั่วไป แต่ไข้หวัดใหญ่จะรุนแรงมากกว่าอาการมักจะปรากฏทันทีในลักษณะของไข้สูง 38.5 - 40 องศา รู้สึกหนาว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดรอบกระบอกตา หรือปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก นอกจากนี้อาจมีอาการคัดจมูก เบื่ออาหาร มีน้ำมูกไหล ไอ้แห้งๆร่วมด้วย
เมื่อเป็นโรคดังกล่าวแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีแบบประคับประคองอาการ หากไม่มีอะไรแทรกซ้อนหรือทรุดหนัก จะสามารถหายได้เองภายใน 5- 7 วัน โดยไม่ต้องนอนรักษาโรงพยาบาล