ปวดท้องแบบไหนเป็นไส้ติ่งอักเสบ

อาการปวดท้อง แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายคนเคยเจอ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ไส้ติ่งอักเสบ คือหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดท้องเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุด และหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจรุนแรงถึงขั้น ไส้ติ่งแตก และติดเชื้อในช่องท้อง ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น ถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ความเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะ หรืออาหารไม่ย่อย ทำให้หลายคนละเลยสัญญาณเตือนของโรคไปโดยไม่รู้ตัว
ไส้ติ่ง (Appendix) เป็นอวัยวะขนาดเล็กคล้ายถุง ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยื่นออกมาจากลำไส้ใหญ่ส่วนต้นด้านขวาล่างของช่องท้อง ก็สามารถอักเสบและกลายเป็นภาวะ ไส้ติ่งอักเสบ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ไส้ติ่งแตกและลุกลามกลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการสำคัญที่ควรสงสัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ
- ปวดท้องมาก ปวดรอบสะดือ แล้วลามไปที่ท้องน้อยด้านขวา
ลักษณะเฉพาะของไส้ติ่งอักเสบคือ เริ่มปวดรอบๆ สะดือก่อน จากนั้นจะปวดชัดเจนขึ้นบริเวณท้องน้อยด้านขวา
- คลื่นไส้ อาเจียน และมีไข้ต่ำ
เกิดจากการอักเสบของไส้ติ่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร
- กดตรงที่ปวดแล้วเจ็บ หรือปวดมากขึ้นเวลาจาม หรือเคลื่อนไหว
โดยเฉพาะบริเวณท้องน้อยด้านขวา จะมีอาหารเจ็บแบบ “rebound tenderness” (เจ็บมากตอนปล่อยมือหลังจากกด)
- ท้องผูก หรือท้องเสีย
อาจพบร่วมกันได้ บางคนมีอาการคล้ายลำไส้แปรปรวน ทำให้เข้าใจผิด
- ท้องอืด แน่นท้อง เบื่ออาหาร
มักเกิดร่วมกับอาการปวดและอักเสบภายใน
สาเหตุที่ทำให้เกิดไส้ติ่งอักเสบ
- การอุดตันของทางเดินไส้ติ่ง เช่น ก้อนอุจจาระแข็ง (fecaolith)
- การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส
- พยาธิ หรือสิ่งแปลกปลอมในลำไส้
- การบวมของเนื้อเยื่อรอบๆ จากการติดเชื้อ
- การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันมากเกินไป เช่น ภาวะภูมิแพ้
ป้องกันไส้ติ่งอักเสบได้หรือไม่
แม้ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการ
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง
เมื่อไหร่ควรรีบไปโรงพยาบาล
หากมีอาการปวดท้องที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะปวดบริเวณท้องน้อยขวา ร่วมกับไข้ คลื่นไส้ อาเจียน และไม่สบายท้องผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอย่างถูกต้อง อย่างปล่อยไว้จนไส้ติ่งแตก อันตรายถึงชีวิต