Bangpakok Hospital

ฟันเหลืองแก้ได้ แต่ต้องแก้ให้ถูกวิธี

10 เม.ย. 2568

รอยยิ้มที่สดใสไม่เพียงแค่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ แต่ยังสะท้อนถึงสุขภาพช่องปากที่ดีด้วย หนึ่งในปัญหาที่ทำให้หลายคนรู้สึกไม่มั่นใจเวลายิ้มคือ ฟันเหลือง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือแม้แต่การสะสมคราบพลัคในชีวิตประจำวัน เมื่อฟันเริ่มหม่นหมอง หลายคนจึงมองหาวิธีฟอกฟันขาวด้วยตัวเอง โดยอิงจากคำแนะนำในอินเทอร์เน็ต หรือเคล็ดลับจากโซเชียลมีเดีย ซึ่งบางวิธีอาจได้ผลในระยะสั้น แต่ในระยะยาวกลับสร้างผลเสียต่อฟันมากกว่าผลดี เช่น ทำให้ฟันลึก เหงือกร่น หรือเกิดอาการเสียวฟันได้


วิธีแก้ฟันเหลืองที่ผิด ไม่ควรทำ

  1. ใช้แปรงขนแข็ง แปรงแรงจะเหงือกบาดเจ็บ

หลายคนเชื่อว่าการแปรงฟันแรงๆ หรือใช้แปรงสีฟันขนแข็งจะช่วยขจัดคราบเหลืองออกไปได้ดี แต่ความจริงแล้วการแปรงแรงเกินไปอาจทำให้ เหงือกถลอก หรือร่น จนเกิดอาการเสียวฟัน และยังทำให้ เคลือบฟันสึกกร่อน อีกด้วย ทางที่ดีควรใช้แปรงขนนุ่มและแปรงฟันอย่างนุ่มนวล

  1. ใช้เบกกิ้งโซดา

แม้ว่าเบกกิ้งโซดาจะมีคุณสมบัติในการขจัดคราบบนภาชนะ แต่สำหรับฟันแล้ว การใช้เบกกิ้งโซดาขัดฟันบ่อยๆ อาจทำให้ เคลือบฟันบางลง และทำลายความแข็งแรงของฟันได้ ฟันจะเสี่ยงต่อการผุและเสียวฟันมากขึ้น

  1. ใช้น้ำมะนาว

น้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดสูง แม้จะช่วยกัดคราบฝังแน่นได้ แต่กรดในมะนาวสามารถ กัดกร่อนเคลือบฟันและผิวฟัน ทำให้อ่อนแอและเกิดการสึกกร่อนได้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อฟันผุและความรู้สึกเสียวฟันได้อีกด้วย

วิธีถูกต้อง ที่ควรทำ

  1. แปรงฟันด้วยสูตร 2-2-2

การแปรงฟันที่ถูกต้องคือ การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที และเว้นระยะหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ซึ่งสูตร 2-2-2 นี้จะช่วยทำให้สามารถทำความสะอาดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายเหงือกหรือผิวฟัน

  1. ฟอกสีฟันอย่างปลอดภัย

หากต้องการให้ฟันขาวขึ้น ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกฟันขาวที่ได้รับการรับรองจากทันตแพทย์ หรือทำการฟอกสีฟันกับทันตแพทย์โดยตรง ซึ่งจะช่วยให้ฟันขาวขึ้นอย่างปลอดภัย และไม่เสี่ยงต่อการระคายเคืองหรือฟันสึก

  1. ทำวีเนียร์ (Veneer)

การทำวีเนียร์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ฟันขาวเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันเหลืองถาวร หรือไม่สม่ำเสมอ ซึ่งการติดวีเนียร์จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทันตแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อผลลัพธ์ที่สวยงามและปลอดภัย

 



Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.