6 อาการเสี่ยง ภาวะครรภ์เป็นพิษ

ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงและอาจเป็นอันตรายต่อทั้่งแม่และทารก หากไม่ได้รับการดูแล อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ชัก รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือคลอดก่อนกำหนด แม้ว่าสาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษจะยังไม่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคประจำตัว อายุของแม่ และการตั้งครรภ์แฝด อาจเพิ่มโอกาสเกิดภาวะนี้ได้ การสังเกตอาการผิดปกติและเข้ารับการฝากครรภ์สม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และทารก
6 อาการเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ
หากคุณแม่ตั้งครรภ์พบอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
- ตามัว หรือพร่ามัว
- มองเห็นเป็นจุดดำ หรืออาการเห็นภาพลายตา
- บางรายอาจมีอาการพร่าจนมองไม่ชัด
- หายใจลำบาก
- รู้สึกเหนื่อยง่ายมากขึ้นกว่าปกติ
- มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สุด
- ใบหน้า มือ หรือขาบวม
- อาการบวมผิดปกติ โดยเฉพาะบวมเร็ว
- อาจพบว่าถอดแหวาน หรือรองเท้าไม่ได้เนื่องจากอาการบวม
- เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หรือาเจียน
- อาการปวดศีรษะรุนแรง ซึ่งมักไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวดทั่วไป
- อาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
- จุดเสียดแน่น หรือปวดไหล่
- รู้สึกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หรือปวดบริเวณชายโครงด้านขวา
- อาจมีปวดร้าวไปที่ไหล่
- น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ
- อาการบวมร่วมกับน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
- อาจมีการคั่งของของเหลวในร่างกาย
สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ
แม้ว่าภาวะนี้จะยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ปัญหาของรก รกอาจทำงานผิดปกติ ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปสู่ทารก
- ความผิดปกติของหลอดเลือด หลอดเลือดของคุณแม่อาจมีการตอบสนองผิดปกติ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- พันธุกรรม มีหลักฐานว่าภาวะนี้อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์
- โรคประจำตัวของคุณแม่ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
- คุณแม่ตั้งครรภ์ครั้งแรก
- อายุแม่มากกว่า 40 ปี หรืออายุน้อยกว่า 20 ปี
- ตั้งครรภ์แฝด
- ประวัติมีภาวะครรภ์เป็นพิษในการตั้งครรภ์ก่อนหน้า
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
หากไม่ได้รับการรักษา ภาวะครรภ์เป็นพิษอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น
- ภาวะชักจากครรภ์เป็นพิษ (Eclampsia) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
- รกลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกลดลง
- ภาวะตับและไตวาย
- ทารกเจริญเติบโตช้า หรือคลอดก่อนกำหนด
วิธีการป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ
แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดย
- ดูแลสุขภาพก่อนและระหว่างตั้งครรภ์
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- ออกกำลังกายเบาๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดเค็ม ลดของทอด ของมัน
- ไปฝากครรภ์และตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ
- หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนวางแผนตั้งครรภ์
ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายต่อทั้งแม่และลูก หากพบอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที การดูแลสุขภาพที่ดีและฝากครรภ์สม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงและทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัย