รู้ก่อนใช้ ปรอทวัดไข้ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี
ในช่วงฤดูหนาว โรคไข้หวัดใหญ่และการเจ็บป่วยจากอากาศที่เย็นลงมักเป็นสิ่งที่พ่อแม่กังวลใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง การมีไข้เป็นสัญญาณสำคัญที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ การวัดไข้ที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจระดับความรุนแรงของอาการและจัดการดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นอุปกรณ์วัดไข้ จึงมีบทบาทสำคัญในการวัดอุณหูมิของเด็ก และปรอทวัดไข้แต่ละชนิดมีจุดเด่นและวิธีใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับช่วยวัยจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
ทำความเข้าใจกับการวัดไข้
ไข้ หมายถึงการที่อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเกิน 37.6 องศาเซลเซียสในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กที่ร่างกายยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีเท่าผู้ใหญ่ การวัดไข้ที่แม่นยำและรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้พ่อแม่สามารถวางแผนการดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม
อุปกรณ์วัดไข้ที่ใช้ในเด็ก
ปัจจุบันมีอุปกรณ์วัดไข้หลายชนิดที่พ่อแม่สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม แต่ละชนิดมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันดังนี้
- เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท
- ข้อดี มีความแม่นยำ ราคาไม่แพง
- วิธีใช้ ใช้ได้ทางปาก รักแร้ หรือทวารหนัก
- ข้อควรระวัง อาจแตกหักง่าย ทำให้สารปรอทรั่วไหล เป็นอันตรายต่อเด็ก
- เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัล
- ข้อดี ใช้งานง่าย ปลอดภัย แสดงผลเร็ว
- วิธีใช้ ใช้ได้ทางปาก รักแร้ หรือทวารหนัก
- ข้อควรระวัง อาจต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อใช้งานเป็นเวลานาน
- แถบวัดไข้
- ข้อดี ใช้งานง่าย พกพาสะดวก
- วิธีใช้ วางแถบวัดไข้บริเวณหน้าผาก
- ข้อควรระวัง ความแม่นยำต่ำกว่าเทอร์โมมิเตอร์ชนิดอื่น
- เครื่องวัดไข้แบบอินฟราเรด
- ข้อดี วัดได้โดยไม่ต้องสัมผัสตัวเด็ก แสดงผลรวดเร็ว
- วิธีใช้ วัดบริเวณหน้าผากหรือหู
- ข้อควรระวัง ราคาสูง และอาจมีความคลาดเคลื่อนหากใช้งานไม่ถูกวิธี
ตำแหน่งการวัดไข้ที่เหมาะสมตามช่วงวัย
- ทางหน้าผาก ใช้ได้กับเด็กทุกวัย ง่ายและไม่รบกวนเด็ก
- ทางรักแร้ เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป แม้จะใช้เวลานานกว่า แต่เป็นตำแหน่งที่ปลอดภัย
- ทางปาก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไป ที่สามารถถือเทอร์โมมิเตอร์ในปากโดยไม่ขยับ
- ทางทวารหนัก เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี เนื่องจากให้ผลที่แม่นยำที่สุด
การดูแลลูกน้อยเมื่อมีไข้
เมื่อวัดไข้พบว่าอุณภูมิของลูกน้อยสูงขึ้น ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้
- เช็ดตัวลดไข้ ใช้น้ำอุ่นเช็ดตัวบริเวณข้อพับ และหน้าผาก เพื่อลดอุณหูมิ
- ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
- ใช้ยาลดไข้ ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เช่น พาราเซตามอล
- ปรับสภาพแวดล้อม เปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศให้อุณหูมิที่พอเหมาะ และสวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
เมื่อไหร่ควรพาลูกไปพบแพทย์
หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- ไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส
- ไข้ไม่ลดลงภายใน 30 นาทีหลังจากดูแลเบื้องต้น
- มีอาการซึม ไม่ตอบสนอง หรือหายใจลำบาก
- มีอาการชักร่วมกับไข้
การวัดไข้และดูแลลูกน้อยอย่างเหมาะสมในช่วงฤดูหนาวเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกฟื้นตัวได้เร็วขึ้น การเลือกอุปกรณ์วัดไข้ที่ถูกต้อง รวมถึงการรู้วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อเด็กมีไข้ จะช่วยลดความกังวลของพ่อแม่