กระดูกพรุน อันตรายที่คุณอาจมองไม่เห็น
กระดูกเป็นโครงสร้างที่สำคัญของร่างกาย ช่วยพยุงร่างกาย ปกป้องอวัยวะ และเป็นแหล่งเก็บแร่ธาตุสำคัญ เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส แต่รู้หรือไม่ว่าโรคเกี่ยวกับกระดูกมักไม่แสดงอาการในระยะแรก? การตรวจมวลกระดูกจะช่วยให้รู้ทันสุขภาพของตัวเองก่อนสายเกินไป
ปัญหากระดูกที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง
- กระดูกพรุน (Osteoporosis)
- เกิดจากความหนาแน่นของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกเปราะบางและหักง่าย
- พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- กระดูกบาง (Osteopenia)
- เป็นภาวะที่มวลกระดูกเริ่มลดลง แต่ยังไม่รุนแรงถึงขั้นกระดูกพรุน
- หากไม่ได้รับการดูแล อาจพัฒนาเป็นกระดูกพรุนได้ในอนาคต
- ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
- เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ทำให้ปวดและเคลื่อนไหวลำบาก
- พบในผู้ที่ใช้ข้อหนัก เช่น การยืน หรือเดินนานๆ
- ภาวะกระดูกหักง่าย (Fragility Fracture)
- มักเกิดจากการล้มเพียงเล็กน้อยในผู้ที่มีกระดูกพรุน
กลุ่มเสี่ยงโรคกระดูกพรุนที่ควรเฝ้าระวัง
- เมื่ออายุมากขึ้น (ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป / ผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป)
- เมื่ออายุมากขึ้น กระบวนการสร้างกระดูกใหม่จะช้าลงกว่ากระบวรการสลายกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลงและความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว
- ผู้หญิงมักเริ่มสูญเสียมวลกระดูกเร็วกว่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือน
- ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยกระดูกหัก
- หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติการกระดูกหักจากการล้มเพียงเล็กน้อย หรือแรงกระแทกไม่รุนแรง นั่นอาจเป็นสัญญาณของความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- ความเสี่ยงนี้เพิ่มขึ้นหากกระดูกหักเกิดในบริเวณสำคัญ เช่น สะโพก หรือกระดูกสันหลัง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ หรือโรคเรื้อรัง
- เบาหวาน โรคนี้ส่งผลให้กระบวนการเผาผลาญของร่างกายเปลี่ยนไป และลดคุณภาพของเนื้อเยื่อกระดูก
- ไทรอยด์ การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์ (ทั้งไฮเปอร์ไทรอยด์และฮาชิโมโต) ส่งผลให้กระดูกสลายตัวเร็วขึ้น
- โรคไตเรื้อรัง กระดูกอาจอ่อนแอลง เนื่องจากไตไม่สามารถรักษาสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายได้
- การใช้ยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
- สเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบ แต่มีผลข้างเคียงที่ทำให้กระดูกสลายตัวเร็วขึ้น ลดการสร้างกระดูกใหม่ และรบกวนการดูดซึมแคลเซียมในร่างกาย
- การใช้ยาในระยะยาว เช่น ในผู้ป่วยโรคหืด โรคข้ออักเสบ หรือโรคภูมิแพ้ อาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน
- ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ทิ้งออกทั้งสองข้าง
- หลังหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยป้องกันการสลายตัวของกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว
- ผู้ที่ตัดรังไข่ออกทั้งสองข้างจะประสบกับการลดลงของฮอร์โมนอย่างทันที ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียมวลกระดูก
- ผู้ที่เคยกระดูกหักง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ
- หากเคยกระดูกหักจากแรงกระแทกเบาๆ หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การยกของเบา การล้มเล็กน้อย อาจเป็นสัญญาณว่ากระดูกเริ่มเปราะบางจากภาวะกระดูกพรุน
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกหักลักษณะนี้ควรรีบตรวจมวลกระดูกทันที เพื่อประเมินและป้องกันการหักในจุดอื่น
อันตรายของโรคกระดูกพรุน
- กระดูกหักง่ายในบริเวณสำคัญ เช่น สะโพก กระดูกสันหลัง หรือข้อมือ
- ความเจ็บปวดเรื้อรังจากการแตกหัก
- การเสียคุณภาพชีวิตจากการเคลื่อนไหวลำบาก หรือพิการถาวร
- เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในผู้ป่วยนอนติดเตียง
ป้องกันกระดูกพรุนอย่างไร
- รับประทานอาการที่เสริมกระดูก อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว และปลาตัวเล็ก
- รับวิตามินดีเพียงพอ ืจากแสงแดดหรืออาหารเสริม เพื่อช่วยดูดซึมแคลเซียม
- ออกกำลังกายที่เสริมความแข็งแรงของกระดูก เช่น การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะๆ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลดการดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่นงการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
- ตรวจมวลกระดูกเป็นประจำ การตรวจมวลกระดูกช่วยให้รู้ทันความเสี่ยง และวางแผนดูแลได้ตั้งแต่เนิ่นๆ