Bangpakok Hospital

เคล็ดไม่ลับ การเลือกอาหาร สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง

15 ส.ค. 2567

ยิ่งอายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะร่างกายจะเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง ในขณะที่เรายังรับประทานของอร่อยๆ เข้าไปเหมือนเดิม จนเกิดเป็นไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย

อีกทั้งโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่อันตรายมากอีกหนึ่งโรค เพราะในช่วงแรกผู้ป่วยมักจะไม่ค่อยมีอาการใดๆ กว่าจะรู้ตัวก็เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ ตามมาได้ การเลือกอาหารที่เหมาะสมจะช่วยในการควบคุมความดันโลหิตได้เช่นกัน เนื่องจากสารอาหารหลายชนิดมีผลต่อการควบคุมความดันโลหิตได้


อาหารสำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง


  1. ผักและผลไม้ เพราะผักและผลไม้ช่วยลดความดันโลหิตได้ เนื่องจากมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น โพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร ที่มีส่วนช่วยทำให้ความดันลดลงได้ 
  • ผักใบเขียว  บล็อคโคลี่ คะน้า มีประโยชน์ในการช่วยลดความดันโลหิต
  • แครอท มีโพแทสเซียมที่เป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างสมดุลของโซเดียม และช่วยขับโซเดียมออกจากร่างกายในรูปแบบปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องในการลดความดันโลหิตได้
  • ส้ม อุดมไปด้วยวิตามินซี และใยอาหาร อีกทั้งยังมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงช่วยในกระบวนการไหลเวียนโลหิต ทำให้ร่างกายควบคุมควมดันโลหิตได้อย่างสมดุล
  • กล้วยหอม มีโพแทสเซียมสูง จึงมีส่วนลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดจากสมองที่สาเหตุมาจากโรคความดันโรคสูงได้

  1. ธัญพืชไม่ขัดสี เป็นแหล่งของเส้นใยอาหาร ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต 
  • ข้าวกล้อง มีไขมันต่ำ ปราศจากคอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์ จึงช่วยลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
  • ข้าวโอ๊ต ช่วยลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้
  • ควินัว มีโปรตีนและแมกนีเซียมสูง
  • ข้าวบาร์เลย์ มีใยอาหารสูง 

  1. อาหารที่มีไขมันดี เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิตได้
  • น้ำมันมะกอก
  • น้ำมันคาโนล่า
  • อะโวคาโด
  • ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดเชีย

  1. ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน เป็นแหล่งของแคลเซียม โปรตีน และวิตามินดี ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและช่วยในการลดความดันโลหิต
  • นมไขมันต่ำ
  • โยเกิร์ตไขมันต่ำ
  • ชีสไขมันต่ำ
 
  1. โปรตีนที่ไม่ผ่านการแปรรูป การทานโปรตีนที่ไม่ผ่านการแปรรูปจะช่วยลดการบริโภคไขมันทรานส์และโซเดียม ที่มีผลต่อความดันโลหิต นอกจากนี้การทานอาหารโปรตีนที่มีไขมันต่ำ สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้
  • เนื้อปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน
  • เนื้อไก่ หมูเนื้อแดงไม่ติดมัน 
  • ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลันเตา

อาหารที่ควรเลี่ยง

  1. อาหารเค็ม หรือว่าอาหารที่มีโซเดียมมากเกินไป เช่น กะปิ น้ำปลา ของหมักดอง
  2. การดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้มีโอกาสเป็นความดันเลือดสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์
  3. อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมัน ไข่แดง หอยนางรม อาหารประเภทผัดหรือทอด
  4. งดการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ตีบตัน ของหลอดเลือดต่างๆ
  5. น้ำตาล ทั้งน้ำตาลที่อยู่ในอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมที่มีรสหวาน


 
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.