ผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะ ทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคอ้วน
ในปัจจุบันไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ทำให้คนมักออกกำลังกายน้อยลง และรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาลมากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วนโดยไม่รู้ตัว ซึ่งภาวะโรคอ้วนนี้อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองตีบ โรคข้อเสื่อม ดังนั้นการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาของผู้ที่มีภาวะอ้วน ให้ห่างไกลจากโรคภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้
ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักคืออะไร (Bariatric surgery)
คือวิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อทำให้อิ่มเร็วขึ้น ลดความอยากอาหาร และทานอาหารได้น้อยลง เพราะในกระเพาะอาหารมีฮอร์โมนกรีลีน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความหิว ที่มีส่วนกระตุ้นในความอยากอาหาร แต่เมื่อผ่าตัดลดขนาดกระเพาะก็จะตัดเส่วนที่มีฮอร์โมนนี้ออกไปด้วย ส่งผลให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น
ผ่าตัดกระเพาะดีต่อสุขภาพอย่างไร
- ห่างไกลโรคเรื้อรัง
- ลดความเสี่ยงอาการปวดเข่า
- ลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
- ไขมันในเลือดดีขึ้น
- ความดันโลหิตสูงดีขึ้น
- ลดภาวะเสี่ยง โรคหัวใจ โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
ใครบ้างที่สามารถผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนักได้บ้าง
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ในกรณีที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาอีกครั้ง
- ผู้ที่ลดน้ำหนักด้วยตัวเองแล้วไม่ได้ผล
- ผู้ที่ไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด หรือโรคทางจิตเวช
- ผู้ที่มีภาวะอ้วน คือค่า BMI มากกว่า 32.5
วิธีคำนวนค่าดัชนีมวลกาย BMI
ใช้ค่ามาตรฐานในการวัดภาวะอ้วน คือ ใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mas Index : BMI) โดยหาได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 95 กิโลกรัม สูง 155 เซนติเมตร ค่า BMI คำนวนได้คือ (95 / (1.5 x 1.5)) BMI = 39.54 กก./ตร.ม.
ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะ
- สุขภาพดีขึ้นหลังจากการผ่าตัดลดน้ำหนัก และช่วยให้ลดความรุนแรงของโรคได้เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
- มีรูปร่างดีขึ้น ทำให้เกิดความมั่นใจ
- น้ำหนักลดลง ไม่กลับมาอ้วนอีก
- การผ่าตัดส่องกล้องลดขนาดกระเพาะอาหาร ทำให้ไม่มีแผลหน้าท้อง เจ็บน้อย ลดโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการผ่าตัด และใช้เวลาพักฝื้นไม่นาน