3 เหตุผลที่คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในไทย และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลายคนมักเจอโรคในระยะที่อาการหนักแล้ว เพราะไม่เคยตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องสำไส้ใหญ่ เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ และตรวจหาความผิดปกติของลำไส้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก พบว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างชัดเจน
ดังนั้นบุคคลที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือบุคคลที่มีความเสี่ยงจึงควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
บุคคลที่มีความเสี่ยง
- บุคคลที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เพราะเป็นช่วงวัยที่ระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหารเริ่มมีประสิทธิภาพลดลง
- มีพ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ , หรือผู้ที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังของลำไส้บางอย่างจึงมีความเสี่ยงที่อาจเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงกว่าคนปกติ
- ผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ
- ผู้ที่ทานเนื้อสัตว์เป็นจำนวนมาก และทานผักน้อย
- ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา
อาการหลักของมะเร็งลำไส้
- ถ่ายอุจจาระมีมูกปน หรือมีเลือดทางทวารหนัก
- ปวดบิดบริเวณท้องน้อย
- มีอาการท้องผูก ท้องเสียที่ไม่หายหลังได้รับการรักษา หรือมีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- อาจคลำพบก้อนที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
สิ่งที่ตรวจพบได้จากการส่องกล้อง
- ริดสีดวงทวาร
- ลำไส้อักเสบ
- ติ่งเนื้อ
- เนื้องอก
- ถุงโป่งจากลำไส้ใหญ่
และการตรวจนี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ด้วยการกำจัดติ่งเนื้องอก (Polyps) ที่เป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็ง เป็นเซลล์เนื้อที่ผิดปกติงอกจากผนังลำไส้ จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุและติ่งเนื้องอกนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อที่มีความผิดปกติร้ายแรงมากขึ้นหากทิ้งไว้นาน แต่หากตรวจพบแต่เนิ่นๆ และกำจัดออกก่อนก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้าย