Bangpakok Hospital

วิธีรักษาน้ำนมแม่ เก็บแบบไหนถึงอยู่ได้นาน

27 ก.พ. 2567


การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความสำคัญสำหรับลูกน้อยในช่วงแรกเกิดจนถึง 2 ปี เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารมากกว่า 200 ชนิดที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งการปั๊มนมใส่บรรจุภัณฑ์และเก็บไว้ที่อุณหภูมิที่เหมาะสมจึงเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่คุณแม่ต้องใส่ใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้น้ำนมคงคุณภาพเหมือนแรกปั๊มออกจากเต้านม วิธีเก็บน้ำนมที่ถูกต้องเป็นอย่างไร และการเก็บน้ำนมแบบไหนที่ไม่ควรทำ แอดมินมีสาระดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากค่ะ

วิธีการเก็บรักษานมแม่

ควรเก็บน้ำนมใส่ขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนม เขียนวันที่ เวลาปั๊มนม และควรแบ่งปริมาณนมให้เพียงพอต่อหนึ่งมื้อ วิธีการเก็บน้ำนมอาจใช้วิธีการบีบออกจากเต้าด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนม ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
  • ทำความสะอาดบริเวณลานนมให้สะอาดก่อนปั๊มหรือให้นมลูก
  • เตรียมขวดนม หรือถุงเก็บน้ำนมที่สะอาด ปราศจากเชื้อ
  • จัดเรียงลำดับน้ำนมก่อน-หลัง เพื่อสะดวกในการนำมาใช้

 

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • เครื่องปั๊มนม
  • ถุงเก็บน้ำนม
  • ขวดเก็บน้ำนมแบบมีขีดวัด
  • ปากกาเขียนถุงนม

ระยะเวลาการเก็บน้ำนม

  1. เก็บในอุณหภูมิ (นอกห้องแอร์)  อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส เก็บได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  2. เก็บในอุณหภูมิ (ในห้องแอร์)  อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส เก็บได้ 4 ชั่วโมง
  3. กระติกน้ำแข็ง อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส เก็บได้สูงสุด 24 ชั่วโมง
  4. เก็บตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิต่ำกว่า 2-4 องศาเซลเซียส เก็บได้ 2-5 วัน (เก็บไว้ใกล้บริเวณจุดที่เย็นที่สุด)
  5. ช่องแช่แข็ง (ของตู้เย็นแบบประตูเดียว) อุณหภูมิ -10 ถึง -15 องศาเซลเซียส เก็บได้ 2 สัปดาห์
  6. ช่องแช่แข็ง (ของตู้เย็นแบบประตูแยก)  อุณหภูมิ -18 ถึง -20 องศาเซลเซียส เก็บได้ 3 เดือน
  7. ตู้แช่แข็ง  อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส เก็บได้ 6 เดือน



Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.