Bangpakok Hospital

7 ผักยอดนิยม ไม่ควรรับประทานดิบ

10 พ.ย. 2566


ผักและผลไม้ส่วนใหญ่ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่จะมีผักบางชนิดที่ไม่ควรกินดิบๆ ในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากอาจให้โทษมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ป่วยบางโรค หรือเด็กคนชรา และหญิงตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีกลไกกำจัดสารพิษได้น้อยกว่า จึงต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีผักอะไรบ้างที่ห้ามกินแบบดิบ แอดมินมีคำตอบมาให้กันค่ะ

  1. กะหล่ำปลี  ในกะหล่ำปลีจะไปจับแคลเซียมที่กรวยไต จนกลายเป็นสารแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งหากมีสารตัวนี้ที่กรวยไตมากๆ ก็เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ และในกะหล่ำปลียังมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งคนที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหารอาจย่อยน้ำตาลชนิดนี้ไม่ได้ และอาจนะไปสู่อาการท้องอืด แน่นท้องได้ แต่หากนำกะหล่ำปลีไปปรุงสุกน้ำตาลที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นโมเลกุลเป็นสารที่ย่อยได้ง่าย นอกจากนี้ในกะหล่ำปีดิบยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายดึงไอโอดีนจากเลือดไปใช้งานได้น้อยกว่าปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ ดังนั้นผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ แต่สารกอยโตรเจนจะสลายได้อย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อน ดังนั้นควรบริโภคกะหล่ำปลีแบบสุกจะดีกว่า
  1. บล็อคโคลี่ ป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลี มีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งสามารถยับยั้งไม่ให้ร่างกายใช้ไอโอดีนได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังมีฮอร์โมนบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดโรคไทรอยด์ได้อีก และการกินบล็อคโคลี่ดิบจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้
  1. ดอกกำหล่ำ เป็นพืชชนิดหัวอีกหนึ่งชนิด เช่นเดียวกับบล็อคโคลี่ ควรนำมาปรุงสุกก่อนกิน เพราะดอกกะหล่ำยังคงมีน้ำตาลเดียวกับกะหล่ำปลี และบล็อคโคลี ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง 
  1. ถั่วฝักยาว เป็นพืชที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงสูง ดังนั้นหากกินแบบดิบๆ ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ ดังนั้นหากชอบกิบแบบดิบๆ ควรล้างน้ำให้สะอาดโดยหักเป็นท่อนๆ และนำไปแช่น้ำนานๆ หรือไม่ก็เลือกกินแบบสุกจะปลอดภัยกว่า
  1. ถั่วงอก มักจะมีการปนเปื้อนของแบคทีเรียซัลโมเนลลา และอีโคไล อีกทั้งยังมีารโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้าตำนำมาฟอกให้สีถั่วงอกมีสีขาวน่ากิน อักทั้งยังเป็นสารที่รักษาความสดของถั่วงอกให้เก็บไว้ได้นาน ซึ่งหากผู้บริโภคมีอาการแพ้สารเหล่านี้ หรือกินถั่วงอกดิบในปริมาณที่มาก ก็อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ หายใจขัด ความดันต่ำ และปวดท้องได้ แต่หากนำถั่วงอกไปปรุงสุกก็จะช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย และสารฟอกขาวได้
  1. หน่อไม้ ในหน่อไม้สดมี Cyanogenic glycoside ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ที่มีพิษต่อร่างกาย และหากร่างกายได้รับสารนี้ในปริมาณที่มาก Cyanogenic glycoside จะเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน ทุรนทุราย หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรต้มน้ำไม้ประมาณ 10 นาที หรือนำหน่อไม้ไปดอง (ซึ่งต้องผ่านการต้ม) ก่อนกิน เพราะวิธีนี้การปรุงสุกด้วยความร้อนจะช่วยสลาย Cyanogenic glycoside ได้
  1. ผักโขม มีกรดออกซาลิก (Oxalic) เป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูกซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมไปใช้ได้ ดังนั้นคนขาดธาตุเหล็กหรือแคลเซียมจึงไม่ควรกินผักโขมแบบดิบๆ แต่กรดออกซาลิกสามารถหมดฤทธิ์ได้เมื่อเจอความร้อน ดังนั้นควรนำผักโขมมาปรุงสุกก่อนกิน



Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.