ทำอย่างไร..เมื่อถูกสัตว์มีพิษกัด
ในช่วงที่ฝนตก น้ำท่วม สิ่งที่ตามมากับน้ำก็คือ สัตว์ต่างๆ ทั้งอันตรายและไม่อันตรายที่ชอบหนีน้ำมาแอบอยู่ในบ้านเรา หรืออยู่ตามแหล่งน้ำท่วมขัง ซึ่งสัตว์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราเสี่ยงอันตราย ดังนั้นก่อนที่เราจะโดนสัตว์ที่มากับหน้าฝนกัดเรามาสำรวจกันว่าสัตว์ที่มาพร้อมกับหน้าฝนมีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะเตรียมรับมือและรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อโดนสัตว์เหล่านั้นกัด
1. งู สัตว์มีพิษอันตรายอันดับต้นๆ ที่ชอบหนีน้ำมาอาศัยอยู่ในบ้านคน หรือชอบขดตัวอยู่ในรองเท้า หรือออกมาจากชักโครก งูพิษที่พบได้หลักๆ ในประเทศไทย แบ่งเป็น
- งูพิษที่ผลต่อระบบประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง งูทับสมิงคลา และงูสามเหลี่ยม งูพวกนี้จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- งูที่มีพิษต่อระบบเลือด เช่น งูเขียวหางไหม้ งูกะปะ เป็นพิษงูที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดมากขึ้น เลือดไหลไม่หยุด
- งูพิษที่มีผลต่อระบบกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง
วิธีปฐมพยาบาล
- รีบพาผู้ป่วยพบแพทย์ และจดจำลักษณะงูที่กัดหรือถ่ายรูปเอาไว้ เพื่อความถูกต้องในการรักษา
- ล้างแผลบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาดหรือยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
- พยายามให้บริเวณที่ถูกงูกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด สามารถทำการดามโดยใช้ไม้กระดานหรือกระดาษแข็งๆ และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
- ห้ามกรีดหรือดูดบริเวณที่ถูกกัด และไม่ควรใช้สมุนไพรพอก เพราะจำทำให้แผลสกปรกเกิดการติดเชื้อ และอาจเป็นบาดทะยักภายหลังได้
- ไม่ควรขันชะเนาะหากไม่รู้จักการขันชะเนาะที่ถูกวิธี เพราะอาจทำให้บริเวณที่ถูกกัดบวมและเนื้อตายมากขึ้น
2. ตะขาบ เป็นสัตว์มีพิษที่อาศัยอยู่ในที่ชื้น และอาศัยอยู่ในหลายแหล่งพื้นที่เช่น ใต้เปลือกไม้ ขุดรูในดิน เมื่อระดับน้ำสูงขึ้นจนท่วมแหล่งอาศัย ตะขาบอาจจะหนีน้ำมายังที่พักอาศัยของคนได้ โดยปกติพิษจะไม่รุนแรงถึงชีวิต ความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาดของตะขาบที่กัดอาการส่วนใหญ่ ได้แก่ อาการปวด คัน บวม แดงร้อน ในบริเวณที่ถูกกัด อาจมีไข้ต่ำๆ ร่วมด้วย และมักมีอาการดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง
วิธีปฐมพยาบาล
- ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาด
- สามารถประคบน้ำเย็นครั้งละประมาณ 10 นาที เพื่อลดอาการปวด
- หลีกเลี่ยงการเกา แกะ บริเวณที่ถูกกัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำช้อน
- ถ้ามีอาการปวดสามารถกินยาพาราเซตามอลเพื่อแก้ปวดได้
- ควรไปพบแพทย์หากสังเกตเห็นอาการใดๆ ที่แย่ลงหรือเริ่มรู้สึกว่าผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการติดเชื้อ ได้แก่ มีรอยแดง การบวม หรืออาการเจ็บปวดเพิ่มขึ้น มีแผลพุพองหรือน้ำเหลืองบนบริเวณที่เกิดแผล
- ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรงเช่น บวมบริเวณใบหน้า หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หน้ามืดเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ช็อคหมดสติ รีบพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อน ในบริเวณที่ถูกต่อย โดยมีอาการมากในวันแรกและมักจะหายเอง ส่วนรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว ความดันโลหิตสูง ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก
วิธีปฐมพยาบาล
- ทำความสะอาดบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาด
- สามารถประคบเย็นครั้งละประมาณ 10 นาที เพื่อลดอาการบวมเฉพาะที่
- ถ้ามีอาการปวดสามารถกินยาพาราเซตามอลเพื่อแก้ปวด
4. แมลงก้นกระดก เป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร มีขนาดใหญ่กว่ายุงประมาณ 1 เท่าครึ่ง หัวสีดำ ลำตัวและท้องมีสีส้ม ยกเว้นปล้องสุดท้ายของท้องมีสีดำ เมื่อเกาะอยู่กับพื้นจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลง จะอาศัยที่ชื้นใกล้แหล่งน้ำ นาข้าว หรือตามพงหญ้า มักมีการระบาดของการเป็นพิษในฤดูฝน
การได้รับสารพิษจากแมลงชนิดนี้ อาจเกิดในเวลากลางคืน แมลงชนิดนี้ชอบเล่นไฟจึงมักบินเข้าไปในบ้านที่เปิดแสงไฟ จากนั้นอาจจะไปเกาะตามร่างกาย แขน ขา คอ ใบหน้า เมื่อคนไปปัด ตบ ตี หรือบี้ แมลงหรือซากของมันจะปล่อยของเหลวออกมา ทำให้เป็นพิษต่อผิวหนังสารพิษจะทำให้บริเวณที่สัมผัสมีผื่น ตุ่มน้ำ ปวดแสบปวดร้อน คัน และอาจลามไปตามที่สารพิษไหลไปโดน ในบางครั้งผื่นจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีไข้ด้วย ผื่นดังกล่าวจะถูกพบในตอนเช้า ผื่นแและตุ่มน้ำดังกล่าวมักจะแตก ทำให้ผิวหนังคล้ายถูกน้ำร้อนลวก โดยทั่วไปจะหายใน 1-2 สัปดาห์
วิธีปฐมพยาบาล
- ในกรณีที่รู้ตัวทันทีหลังสัมผัส ให้รีบล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาด
- เมื่อพบเห็นหรือถูกแมลงชนิดนี้เกาะที่ร่างห้ามตี หรือขยี้ด้วยมือเปล่า เพราะจะทำให้สารพิษสัมผัสผิวหนัง ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษเขี่ยแมลงนี้ออกไปและรีบล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดให้เร็วที่สุด
- หากอาการผื่นรุนแรงมากอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยพบแพทย์และทายา