โรคฮีทสโตรก อันตรายใกล้ตัวช่วงหน้าร้อน
เมื่อเข้าสู่หน้าร้อนอย่างเต็มตัวโรคที่พึงระวังอีกหนึ่งโรคก็คือ "โรคฮีทสโตรก" ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ วัยกลางคน หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงถ้าร่างกายได้สัมผัสความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญได้ เช่น สมอง หัวใจ ปอด ไต และ กล้ามเนื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงทีก็อาจเกิดโอกาสภาวะแทรกซ้อนที่นำไปสู่อันตรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก ที่ควรระวัง
• ตัวร้อนมาก มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
• ความดันโลหิตลดลง
• หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
• กระหายน้ำ
• ปวดศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย
• ชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป
ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคลมแดด
1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
2. มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
3. น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
4. พักผ่อนไม่เพียงพอ
5. ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักฟุตบอล ทหารหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
6. ทำงานออฟฟิศ ในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (กรณีการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจะทำให้ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีความดันโลหิตสูงขึ้น จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้)
วิธีป้องกันจากโรคฮีทสโตรก
1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
2. ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน และ ระบายอากาศได้ดี
3. ดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มที่ทำให้น้ำตาลสูง
5. ไม่ควรทิ้งเด็กหรือผู้สูงอายุ และ สัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง
กรณีหากพบผู้มีอาการโรคลมแดดให้รีบนำเข้าที่ร่มให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น และใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างเร็วที่สุด ถ้าหากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่ง รพ.โดยเร็วที่สุด
สัญญาณเตือนโรคฮีทสโตรก ที่ควรระวัง
• ตัวร้อนมาก มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
• ความดันโลหิตลดลง
• หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
• กระหายน้ำ
• ปวดศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน และอ่อนเพลีย
• ชักกระตุก เกร็ง และหมดสติไป
ปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคลมแดด
1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ
2. มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน
3. น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน
4. พักผ่อนไม่เพียงพอ
5. ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย นักฟุตบอล ทหารหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
6. ทำงานออฟฟิศ ในห้องแอร์เป็นเวลานานแล้วออกมาเจอกับอากาศร้อนจัด จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน
7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้ร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ (กรณีการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจะทำให้ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้น มีความดันโลหิตสูงขึ้น จะทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก อาจทำให้ช็อกและเสียชีวิตได้)
วิธีป้องกันจากโรคฮีทสโตรก
1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง
2. ใส่เสื้อผ้าสีอ่อน และ ระบายอากาศได้ดี
3. ดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มที่ทำให้น้ำตาลสูง
5. ไม่ควรทิ้งเด็กหรือผู้สูงอายุ และ สัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดอยู่กลางแจ้ง
กรณีหากพบผู้มีอาการโรคลมแดดให้รีบนำเข้าที่ร่มให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น และใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างเร็วที่สุด ถ้าหากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่ง รพ.โดยเร็วที่สุด