Bangpakok Hospital

ใส่ส้นสูง เสี่ยงโรครองช้ำอักเสบ

29 ธ.ค. 2565


ปกติผู้หญิงส่วนใหญ่โดยเฉพาะนักศึกษาและสาวออฟฟิศมักนิยมใส่รองเท้าส้นสูง เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและความมั่นใจในแต่ละวัน ถึงแม้จะทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวดเท้าก็ตาม

ซึ่งรองเท้าส้นสูงมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกมากมาย แต่หากไม่ถูกสุขลักษณะของเท้าแล้วก็อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สาวๆ เป็นเป็นโรครองช้ำได้ง่ายมากขึ้น

ดังนั้นการทำความรู้จักกับโรครองช้ำให้เข้าใข ก็จะช่วยให้เราดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากภัยของโรครองช้ำได้มากขึ้น

ทำไมรองเท้าส้นสูงจึงเกี่ยวกันกับโรครองช้ำ

โรครองช้ำเป็นโรคที่พบได้บ่อย เพราะคนเราใช้งานเท้าอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดความเสื่อมและความไม่ยืดหยุ่นขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตึง อักเสบ และเจ็บปวดในที่สุด ทั้งนี้รองเท้าที่เราใส่เพื่อปกป้องเท้า และเพื่อเสริมบุคลิกภาพนั้นมีส่วนในการบีบรัดเท้าให้ผิดรูป จึงเป็นเหตุให้หากเลือกใส่นองเท้าที่ไม่เหมาะสม แล้วใส่เป็นประจำเป็นเวลานานๆ ก็ส่งผลให้เกิดโรครองช้ำได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้รองเท้าส้นสูงที่ผู้หญิงนิยมใส่เป็นสิ่งอันตรายต่อเท้าและคุณภาพชีวิตนั้น มีดังต่อไปนี้

 

  1. รองเท้าส้นสูง ที่ใส่แล้วเสริมบุคลิกภาพที่ดี แต่ความเป็นจริงมีส่วนทำให้กระดูกสันหลังบริเวณเอว แอ่นมากเกินไป หากใส่เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง
  2. การใส่ส้นสูง ส่งผลทำให้เอ็นร้อยหวายไม่ต้องยืดมากตลอดเวลา เพราะส้นเท้ากับเข่าจะใกล้กันมากขึ้น เมื่อถอดส้นสูงแล้วลงเดินก็จะทำให้เกิดความตึงมากกว่าปกติ ทำให้เสี่ยงในการเกิดโรครองช้ำได้
  3. เมื่อใส่รองเท้าส้นสูงที่มีลักษณะเรียวไปที่ปลายเท้านานๆ จะทำให้เท้าผิดรูปได้ ซึ่งรองเท้าส่วนใหญ่จะบีบหน้าเท้าเราทั้งหมดทำให้นิ้วเอียงผิดรูป หากใส่เป็นประจำเท้าก็จะค่อยๆ ผิดรูปไปเรื่อยๆ จนเป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดโรครองช้ำได้
  4. รองเท้าส้นสูงแฟชั่นส่วนใหญ่ บางรุ่นที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีพื้นรองเท้าที่บางเกินไป โดยปกติรองเท้าที่ดี พื้นรองเท้าจะประกอบไปด้วย 3 ชั้น คือ ชั้นที่สัมผัสกับฝ่าเท้า ชั้นนอกสุดที่สัมผัสกับผื้น และชั้นกลางซึ่งเป็นตัวช่วยรับแรงและกระจายน้ำหนักเวลา เดิน วิ่ง กระโดด ซึ่งรองเท้าส้นสูงแฟชั่นผู้หญิงส่วนมากจะไม่ถูกลักษณะดังกล่าว จึงทำให้เวลาเดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมอื่นๆ จะมีแรงสะท้อนกลับขึ้นมาที่เท้ามาก ทำให้กระดูก เอ็น ข้อ และกล้ามเนื้อเท้าทำงานหนัก รับแรงสะท้อยจากพื้นตลอดเวลา และเกิดความเสื่อมเร็วมากขึ้น
  5. พื้นรองเท้าด้านใน ควรเลือดให้เหมาะกับรูปเท้าของแต่ละคน ซึ่งบางคนเท้ามีลักษณะแบน บางคนมีลักษณะเท้าโก่งสูง หรือบางคนอุ้งเท้าปกติ แต่รองเท้าแฟชั่นส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาให้เหมาะกับเท้าแต่ละแบบได้ จึงทำให้เมื่อใส่รองเท้าที่พื้นรองเท้าด้านในไม่สอดรับกับรูปเท้า จะก็จะเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

 

อาการของคนเป็นรองช้ำ

มีอาการเจ็บส้นเท้าและลามไปทั่วฝ่าเท้า ในบางครั้งอาจลามไปที่อุ้งเท้าด้วย ลักษณะของอาการเจ็บจะเป็นปวดจี๊ดขึ้นมาและปวดแสบ โดยมากความเจ็บปวดจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย และอาการปวดจะรุนแรงที่สุดเมื่อเริ่มมีการลงน้ำหนักที่ส้นเท้าในก้าวแรก เช่น เมื่อลุกเดินก้าวหลังตื่นนอน หรือหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน นอกจากอาจมีอาการปวดมากขึ้นได้ในช่วงระหว่างวัน หลังจากที่เท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานาน เช่น ยืนหรือเดินเป็นเวลานาน และเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นก็จะยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น

 

อันตรายของโรครองช้ำ

แม้โรคนี้ไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวันได้ การรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยง และอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ การเจ็บปวดต่อเนื่อง การที่เส้นประสาทเล็กๆ บริเวณฝ่าเท้าได้รับการกระทบกระเทือน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรู้สึกชาและเหมือนมีเข็มตำที่ส้นเท้า

 

วิธีป้องกันและดูแลตนเองจากการใส่รองเท้าส้นสูง

  1. ใช้รองเท้าส้นสูงแต่พอดี เลือกใช้ตามความเหมาะสมและสถานที่ ควรหารองเท้าสำรองที่ใส่สบาย พื้นหนา นุ่ม มาสลับเปลี่ยนช่วงเวลาที่ไม่จำเป็นต้องใช้ส้นสูง
  2. ยืดกล้ามเนื้อในส่วนของน่องและหลังบ่อยๆ ช่วยลดผลกระทบจากการใส่รองเท้าส้นสูง
  3. หาแผ่นรองเสริม รองเท้าในจุดที่รู้สึกอ่อนไหวต่อการลงน้ำหนักของเท้า แผนรองเสริมรองเท้าจะเป็นลักษณะซิลิโคนหรือแผ่นเจลช่วยรองรับแรงกดทับของน้ำหนักบริเวณส้นเท้า ปลายเท้า
  4. เลือกรองเท้า หากจำเป็นต้องใส่รองเท้าส้นสูงจริงๆ ในการทำงาน ควรเลือกรองเท้าส้นสูงที่ไม่เกิน 2 นิ้ว , หัวรองเท้าที่มีการเปิดปลายนิ้วเท้า เพื่อลดการรับน้ำหนักที่มากเกินไปของปลายเท้าและช่วยละการบีบรัดและจิกเกร็งที่นิ้วเท้า
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.