Bangpakok Hospital

“หัด” โรคใกล้ตัวในเด็กเล็ก

7 ธ.ค. 2565


โรคหัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุน้องกว่า 6 ปี ซึ่งโรคนี้หากเกิดภาวะแทรกซ้อนก็อาจทำให้ได้รับอันตรายร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่ถึง 6 เท่า โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอาการจากการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง 

ดังนั้นผู้ปกครอบควรหมั่นสังเกตอาการของลูก หากมีอาการน่าสงสัยหรือผิดปกติ ควรพาลูกมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาและคลายความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้

สาเหตุของโรคหัด

โรคหัด เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Rubeola Virus เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายโดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในอาการจากการไอ จามของผู้ป่วยหรือจากการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง เชื้อไวรัสหัดสามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงสองชั่วโมงในอากาศ หรือบนพื้นผิวสิ่งของที่มือของผู้ป่วยที่มีเชื้อติดอยู่สัมผัส

 

อาการของโรคหัด

โรคหัดจะมีอาการคล้ายกับหวัด โดยเริ่มมีอาการประมาณ 10 วัน หลังติดเชื้อจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • อาการคล้ายหวัด เช่น คัดจมูก ไอ จาม
  • ปวดตา ตาแดง น้ำตาไหล
  • มีไข้สูง 40 องศาเซลเซียส
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เบื่ออาหาร
  • เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • เกิดจุดสีเทาขาวภายในกระพุ้งแก้ม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

โดยส่วนใหญ่แล้วอาการแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่

  • หูชั้นกลางอักเสบ
  • ปอดอักเสบ
  • สมองอักเสบ

 

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

  • ทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า6 ปี
  • ผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว และผู้ติดเชื้อเอชไอวี

การรักษาโรคหัด

เนื่องจากยังไม่มียาต้านไวรัสโรคหัด ดังนั้นหากเด็กเป็นโรคหัด ให้ดูแลเหมือนเป็นไข้หวัด คือ ดูแลประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ดื่มน้ำและพักผ่อนมากๆ เน้นให้เด็กทานอาหารที่มีโปรตีน หากมีไข้ให้กินยาพาราเซตามอลในปริมาณที่แพทย์แนะนำ และเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.