ปัสสาวะแสบขัด มีเลือดปน เสี่ยงโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ
อาการปัสสาวะแสบขัด มีเลือดปน หรือมีอาการปวดบั้นเอวหรือหลังเป็นครั้งๆ จนรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากน้ำปัสสาวะที่เข้มข้นมากจนตกผลึกเป็นก้อนคริสตัล จนเกิดการอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะ เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ จนอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง
ผู้ป่วยจะมีอาการที่แตกต่างกันบางคนมีการเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการอะไรเลย ดังนั้นควรหมั่นสังเกตอาการ หากผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
นิ่ว มีลักษณะเป็นก้อนแข็งคล้ายก้อนกรวด เกิดจากการตกตะกอนหรือตกผลึกของหินปูนในร่างกายซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด เช่น แคลเซียม ออกซาเลต , แคลเซียม ฟอสเฟต , กรดยูริค และซีสเตอีน นิ่วเกิดขึ้นที่อวัยวะใดก็จะมีชื่อเรียกตามอวัยวะนั้น เช่น นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในต่อมน้ำลาย และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งประกอบด้วย นิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในท่อปัสสาวะ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
สาเหตุของโรคนิ่ว
โรคนิ่วสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น
- กรรมพันธุ์ โรคหลายชนิดที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมีผลต่อการเกิดนิ่วทางเดินปัสสาวะ
- อายุ พบมากในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 40-60 ปี
- เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2-3 เท่า
- ปริมาณน้ำดื่ม เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดนิ่วทางเดินปัสสาวะ ถ้าดื่มน้ำน้อยกว่า 2 ลิตร/วัน โอกาสการเกิดนิ่วจะสูงขึ้น
- การรับประทานยาบางชนิด
- ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ
- อาหารบางชนิด ปริมาณอาหารมีผลต่อการขับสารบางชนิดออกมาในปัสสาวะ ได้แก่ แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต ออกซาเลต ในภาวะที่มีปริมาณผิดปกติสารเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นก้องผลึกแข็ง เมื่อสะสมนานจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นก้อนนิ่วเข้าไปอุดตันบริเวณต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการ
ลักษณะอาการของนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะนั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดของนิ่วและตำแหน่งที่นิ่วอุดตันอยู่ รวมถึง นิ่วอุดทางเดินปัสสาวะมากน้อยเพียงใด ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการไม่เหมือนกัน บางรายไม่มีอาการแสดง แพทย์มักตรวจได้โดยบังเอิญจากการเอ็กซเรย์ช่องท้องจากโรคอื่นๆ เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง ส่วนในรายที่แสดงอาการ จะมีอาการที่พบได้บ่อยคือ
- ปวดท้องน้อยเรื้อรัง อาจร่วมกับปวดหลังเรื้อรัง
- การปัสสาวะผิดปกติ เนื่องจากก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะกะปิดกะปรอย ปัสสาวะลำบาก ปวดเบ่ง คล้ายปัสสาวะไม่สุด ปวดแสบร้อน ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะไม่ออก
- ผู้ป่วยบางรายอาจปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลล้าง หรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวดทรายเล็ก หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปนอยู่
- หากก้อนนิ่วตกลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย ปวดหลัง ปัสสาวะแสบปวดร้อน โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด มีไข้ ปวดเนื้อตัว และอาจมีอาการปวดข้อร่วมด้วย
การรักษา
การรักษามีด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับขนาด และตำแหน่งของนิ่วโดยมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- การรักษาด้วยยา ส่วนใหญ่จะได้ผลกับนิ่วยูริก เพราะเป็นนิ่วที่มีขนาดเล็ก โดยใช้ยาเพื่อเข้าไปนิ่วละลาย
- การสลายนิ่ว ใช้ยารักษานิ่วที่มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร และเป็นนิ่วในไตหรือท่อไต การรักษาจึงจำได้ผลดี ทำโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เกิดแรงกระแทกก้อนนิ่ว ทำให้เกิดรอยร้าวจนแตกเป็นผง ผงนิ่วจะหลุดไหลออกมาพร้อมน้ำปัสสาวะ
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง เข้าไปกรอนิ่ว ขบ เพื่อให้ก้อนนิ้วแตก เหมาะสำหรับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และนิ่วในไตที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร
- การผ่าตัดโดยการเจาะหน้าท้อง ใช้กับการรักษานิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร