Bangpakok Hospital

เคล็ดลับแก้ปัญหา เมื่อลูกน้อยท้องผูก

27 ต.ค. 2565



ลูกท้องผูก เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายๆบ้านอาจต้องเจอ ซึ่งอาการที่แสดงว่าลูกท้องผูกคือ ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ 

ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมรับประทานอาหารและนิสัยในการขับถ่าย เด็กไม่ทานผักและผลไม้ ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย จึงทำให้อุจจาระแข็ง ขับถ่ายแล้วรู้สึกเจ็บ

วันนี้แอดมินมีวิธีบรรเทาอาการลูกน้อยท้องผูกมาฝาก พร้อมสัญญาณที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต ว่าลูกกำลังท้องผูกอยู่หรือเปล่า

สาเหตุหลักของอาการท้องผูก

เกิดจากพฤติกรรมการขับถ่าย เด็กมักชอบกลั้นอุจจาระไม่มีวินัยในการเข้าห้องน้ำ หรืออาจจะเกิดจากการที่รับประทานอาหารไม่มีกากใย และมักชอบทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดหาทานได้ง่าย เด็กจึงไม่ทานผักผลไม้ และดื่มน้ำน้อยจึงทำให้อุจจาระแข็ง และมีปัญหาท้องผูกตามมา

 

สัญญาณและอาการเมื่อลูกท้องผูก

 

  • อุจจาระมีลักษณะแข็ง เป็นเม็ดๆ
  • ความถี่ในการขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีความถี่ในการขับถ่ายต่างกัน บางคนถ่าย 2-3 ครั้งต่อวัน บางคนถ่ายเพียง 2 ครั้ง/สัปดาห์ ซึ่งก็ถือเป็นภาวะปกติได้ แต่หากลูกไม่ถ่ายในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์
  • ลูกมีภาวะอุจจาระเล็ดบ่อยๆ โดยไม่รู้ตัว อาจเป็นอุจจาระที่เล็ดออกมาเป็นรอบๆ อุจจาระก้อนใหญ่ตกค้างอยู่ จะพบเป็นรอยเปื้อนที่กางเกงในของลูก ซึ่งเป็นอาการที่เขาไม่สามารถควบคุมได้
  • ลูกมีอารมณ์หงุดหงิด ไม่ยอมกินอาหาร และบ่นว่าปวดท้อง

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

  • ทานอาหารที่ไม่เหมาะสมกับวัย หรือทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก คุณแม่ไม่ควรให้ลูกกินอย่างอื่นนอกจากนมแม่
  • ดื่มนมวัวมากเกินไป ทานอาหารน้อย จนทำให้รับใยอาหารไม่เพียงพอ
  • อั้นอุจจาระเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าห้องน้ำที่ลูกไม่คุ้นเคย ไม่สะอาด จึงทำให้ไม่ยอมถ่ายอุจจาระ ซึ่งการอั้นอุจจาระทำให้ลำไส้ใหญ่โป่งพองและทำงานบีบตัวได้น้อยลง
  • ภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง
  • ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  • ขาดความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำใส้
  • ขาดการออกกำลังกาย
 

วิธีช่วยให้ลูกขับถ่ายง่ายขึ้น

  • ให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ เพราะน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับร่างกาย อีกทั้งยังช่วยทำให้อุจจาระอ่อนตัวและขับเคลื่อนออกจากลำไส้ได้ง่าย โดยควรให้ลูกดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว 
  • ลดอาหารที่ทำให้ท้องผูก 
  1. ขนมหวาน เช่น ลูกอม คุกกี้หรือเค้ก เพราะมีน้ำตาลสูง และยังไม่มีกากใยอาหาร
  2. อาหารทอด ทำให้ร่างกายใช้เวลาย่อยนาน ส่งผลให้การลำเลียงอาหารในลำไส้ช้าลง ที่สำคัญคือไขมันจะไปดักจับอาหารทำให้อุจจาระแข็งตัว
  3. ชีส , เนย มีปริมาณกากใยอาหารน้อยมากและมีไขมันสูง
  4. เนื้อสัตว์ เด็กๆต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่หากทานมากเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่ายได้
  • ฝึกลูกให้ขับถ่ายเป็นเวลา เด็กท้องผูกอาจเกิดจากการขับถ่ายไม่เป็นเวลา เพราะเมื่อเลยเวลาขับถ่ายแล้ว ร่างกายจะดูดซึมของเสียเหล่านั้นกลับคืนร่างกายแทนที่จะขับออกมา จึงทำให้อุจจาระแข็งและแห้งมากขึ้น
  • เลือกอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและมีฤทธิ์ระบายท้อง เช่น ผักใบเขียว หรือธัญพืชต่างๆ อย่างขนมปังโฮลเกรนแทนขนมปังขาว โดยในเด็กเล็กควรกินไฟเบอร์ให้ได้อย่างน้อยประมาณ 20 กรัมต่อวัน
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.