4 เคล็ดลับดีๆ ช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อม
LEGAL LEAN
ข้อเข่า เป็นส่วนที่ถูกใช้งานต่อเนื่องมานาน จึงส่งผลให้ผิวข้อสึกหรอได้ง่าย โดยปกติมักพบอาการข้อเข่าเสื่อมกับผู้อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้น และมักเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
เนื่องด้วยปัจจัยทางฮอร์โมนและโครงสร้างของร่างกาย จึงพบโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มที่มีอายุน้อยมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยได้
กลุ่มคนและพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปทำให้เข่ารับน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
- ผู้ที่ชอบคลานเข่าหรือคุกเข่าเป็นเวลานาน ทำให้ลูกสะบ้าบริเวณเข่าและกระดูกต้นขาต้องรับทำหนักมาก ส่งผลให้เอ็นอักเสบได้ เมื่อได้รับการกดทับบ่อยๆ จะทำให้กระดูกงอได้
- ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อต่อ เช่น ประสบอุบัติเหตุ หรือออกกำลังกายมากเกินไป
- ผู้ที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อเข่ามากกว่าปกติ
- ผู้ที่ถือของหนัก ส่งผลกระทบต่อข้อเข่า รวมถึงข้อมือ ข้อไหล่ และหมอนรองกระดูกสันหลัง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคไขข้อ เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาท์ ซึ่งจะเร่งการทำลายกระดูกอ่อนจนทำให้เกิดอาการปวดบวมและติดแข็งของข้อเข่า
สัญญาณเตือนอาการข้อเข่าเสื่อม
- ปวดเข่า มักมีอาการปวดบ่อยๆ เมื่อทำกิจกรรมที่เพิ่มแรงกดให้กับเข่า เช่น ขึ้นลงบันได วิ่งออกกำลังกาย นั่งเป็นเวลานาน มักจะปวดไม่นานและหายได้เอง
- ข้อเข่าติด หรือฝืดตึง มักมีอาการเมื่อตื่นนอน หรือเวลาที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลานาน จะมีอาการเคลื่อนไหวหัวเข่าไม่สะดวก ยืดหรืองอเข่าได้ยาก
- มีเสียงในข้อเข่า เมื่องอหรือเหยียดเข่า
- มีอาการเจ็บข้อเข่า เมื่อใช้มือจับหรือกด
- ข้อเข่ามีอาการบวมขึ้น หรือผิดรูป อาจสังเกตเห็นได้จากข้อเข่าโตผิดปกติหรือมีปุ่มกระดูกยื่นออกมา และมีอาการอักเสบร่วมด้วย จึงส่งผลให้หัวเข่าบวม
วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น ขยับร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้หัวเข่าเกิดการกดทับ เช่น การขึ้นบันได การนั่งไขว้ขา หรือยกของหนัก
- เลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงข้อเข่า คือ
- อาหารที่มีโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาทะเล ปลาแซลมอน หรือปลาน้ำจืดเนื้อขาว จะช่วยบำรุงข้อต่อให้แข็งแรง ลดอาการอักเสบ
- ทานผักให้ครบ 5 สี เพื่อรับวิตามินอย่างครบถ้วน เพราะในผักมีสารต้านอนุมูลอิสระ และเบต้าแคโรทีน ช่วยชะลอการเสื่อมของร่างกาย
- เติมแคลเซียมด้วย นม งาดำ อัลมอนด์ น้ำเต้าหู้ หรือปลาตัวเล็ก
- ทานผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอสุก และทานผักผลไม้ที่มีสารไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เชอร์รี่ บลูเบอร์รี่ หัวหอม มะเขือเทศ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมวิตามินซีได้ดี
- ลดการทานอาหารประเภท ผัด ทอด แกงกะทิ หรืออาหารที่มีไขมันสูง และเน้นทานอาหารประเภท อบต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง โดยเลือกการออกกำลังกายที่ไม่กระโดด และกระทบข้อเข่า เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการว่ายน้ำ เน้นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หนักจนเกินไป เพื่อสร้างความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อได้
- ใช้อุปกรณ์ในการช่วยเหลือ การใช้อุปกรณ์ในการช่วยเดินจะช่วยป้องกัน และลดอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น การใช้รองเท้าที่ช่วยลดแรงกระแทกที่ข้อต่อ เช่น ไม้เท้า หรือผ้ารัดเข่าก็สามารถช่วยได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์