Bangpakok Hospital

5 อาการเสี่ยง มะเร็งกระเพาะอาหาร

28 มิ.ย. 2565



โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 จากการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยมะเร็งกระเพาะอาการพบบ่อยเป็นอันดับที่ 6 ในผู้ชาย และอันดับที่ 9 ในผู้หญิง ถึงแม้จะพบได้ไม่บ่อยในคนไทยแต่ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในประเทศไทย มักพบในระยะท้ายของโรค

ซึ่งตัวการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร คือเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori) โดยผู้ติดเชื้อแบคทีเรียส่วนมากจะเกิดภาวะกระเพาะอักเสบเรื้อรังแต่ไม่แสดงอาการ ซึ่งผู้ติดเชื้อมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นแผลในกระเพาะอาหารถึง 10-20%  

ดังนั้นควรสังเกตอาการอยู่เป็นประจำ หากมีอาการที่ผิดปกติไม่ควรปล่อยไว้นานโรคอาจรุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที่เมื่อพบอาการผิดปกติ

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แน่ชัด แต่มีหลายปัจจัยพบว่าสามารถเพิ่มความเสี่ยงของโรคได้ ดังนี้

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เชื้อชาติ พบในคนเอเซียได้มากกว่าชนชาติผิวขาวกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา
  • อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักและผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิด โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูง
  • อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่น และสารเคมีบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่รับประทานผักและผลไม้
  • ภาวะอ้วน ผู้ชายที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น

ใครบ้างที่ควรตรวจมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหาร และสำไส้เล็ก เช่น ปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง เบื่ออาหาร
  2. ผู้ที่มีประวัติแผลเป็นแผลในระบบทางเดินอาหาร
  3. บุคคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. อุจจาระมีเลือดปน
  2. เจ็บท้องตลอดเวลา
  3. อาเจียนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  4. แสบร้อนบริเวณหน้าอก
  5. อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ

การตรวจหาเชื้อ H.Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  1. ตรวจผ่านทางลมหายใจ 
  2. ตรวจโดยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  3. ตรวจจากอุจจาระ

 

การป้องกัน

เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหารในกรณีที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันไม่มีวิธีการป้องกันอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่ควรตรวจคัดกรองเมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป เพราะมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นเป็นมะเร็งที่รักษาได้ถ้าเราเจอในระยะแรก ที่สำคัญคือต้องพยาบาลกำจัดปัจจัยเสี่ยง เช่น อาหารการกินโดยเฉพาะอาหารเค็ม อาหารปิ้งย่างที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและทำให้เกิดมะเร็งได้  โดยเฉพาะเชื้อโรคเอช. ไฟโลไร (H. Pylori) เป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.