เสริมพัฒนาการลูก ด้วยการเล่านิทาน
นิทานเป็นสิ่งของทุกบ้านที่มีเด็กเล็กจะต้องมี เพราะการเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ทำร่วมกับลูกได้ง่ายๆที่บ้าน เพื่อช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
แต่ผู้ปกครองหลายท่านอาจยังไม่ทราบถึงประโยชน์อื่นๆ ของนิทานที่นอกจากใช้เพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับเด็กๆแล้ว เรายังสามารถใช้นิทานเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในหลายๆด้านได้อีกด้วย โดยเฉพาะจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
ดังนั้นหนังสือเล่มแรกของลูกจึงมีความหมาย เพราะเด็กเล็กๆยังอ่านหนังสือไม่ได้ จึงต้องอาศัยพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูเป็นคนอ่านให้ฟัง ซึ่งในระหว่างที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง จะเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่แสดงความรักต่อลูก และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เด็กๆ ได้ใช้สมองในการคิดและจินตนาการ และนอกจากนี้ควรเลือกรูปแบบของนิทานที่เหมาะสมกับช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสมให้กับลูก
นิทานที่เหมาะกับช่วงวัยของเด็กแบ่งออกเป็น 4 ช่วง
1. เด็กเล็กอายุ 0-3 ปี
ส่วนใหญ่หนังสือนิทานควรเป็นภาพ มีคำบรรยายเพียงสั้นๆ ไม่ต้องมีเนื้อเรื่องมาก หรือเป็นคำกลอน เพื่อให้เด็กเล็กได้เห็นรูปและฟังเสียง เด็กๆจะชอบมาก เพราะมีสัมผัสและเสียงอ่านที่ฟังแล้วเป็นจังหวะคล้ายเสียงดนตรี
2. เด็กอนุบาลอายุ 3-6 ปี
เน้นภาพเยอะกว่าตัวอักษร ซึ่งอาจเป็นคำกลอนคล้องจองที่เด็กสามารถจำง่าย หรือเนื้อเรื่องที่ไม่ซับซ้อน
3. เด็กประถมอายุ 6-9 ปี
ใช้ตัวอักษรให้มากขึ้น เนื้อเรื่องซับซ้อนมากขึ้น เล่าเรื่องที่เหมือนได้ประสบการณ์การผจญภัย หรือหาของที่ซ่อนอยู่ในภาพจะช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กๆ ติดตามนิทานด้วยความสนุก
4. เด็กประถมปลายอายุ 9-12 ปี
เน้นภาพสวย จำนวนตัวละครมากขึ้น เนื้อหาช่วยให้ติดตามเพื่อแก้ปัญหา หรือใช้คำศัพท์ที่ยากขึ้น จะฝึกทักษะการฟังและจับใจความที่เป็นประโยชน์ในการเรียนหนังสือของเด็กๆ
ประโยชน์ของการเล่านิทาน
1. นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเล็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต มีความมั่นใจ ฉลาด กล้าแสดงความคิดเห็น คือมีความฉลาดทั้งทางปัญญา (IQ) และฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
2. นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้น เพราะการเล่านิทานเปรียบเสมือนการสอนภาษาไปในตัว เมื่อเด็กได้ยินได้ฟัง ก็จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษามากขึ้น
3. นิทานทำให้เด็กจับประเด็นและวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆได้ดีขึ้น เพราะการเล่านิทานซ้ำ จนเด็กจำได้ทั้งเรื่อง จะทำให้เด็กมองเห็นภาพรวมของเรื่อง และจับประเด็นสำคัญจากเรื่องได้ง่ายขึ้น
4. นิทานจะช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทานนั้น น้ำเสียงที่ใช้เล่าเรื่องจะกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการเป็นภาพ ดังนั้น การเล่านิทานหลายๆเรื่องจึงเป็นการสร้างจินตนาการใหม่ให้กับเด็ก
5. นิทานช่วยสร้างสมาธิให้แก่เด็ก เพราะช่วงเวลาเล่านิทาน เด็กจะตั้งใจฟังนิทานอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเมื่อเล่านิทานที่มีความหมายเหมาะกับช่วงวัยแล้ว เด็กก็จะเข้าใจเรื่องนิทานได้ง่ายขึ้น ถือเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กอีกหนึ่งวิธี
1. เด็กเล็กอายุ 0-3 ปี
ส่วนใหญ่หนังสือนิทานควรเป็นภาพ มีคำบรรยายเพียงสั้นๆ ไม่ต้องมีเนื้อเรื่องมาก หรือเป็นคำกลอน เพื่อให้เด็กเล็กได้เห็นรูปและฟังเสียง เด็กๆจะชอบมาก เพราะมีสัมผัสและเสียงอ่านที่ฟังแล้วเป็นจังหวะคล้ายเสียงดนตรี
2. เด็กอนุบาลอายุ 3-6 ปี
เน้นภาพเยอะกว่าตัวอักษร ซึ่งอาจเป็นคำกลอนคล้องจองที่เด็กสามารถจำง่าย หรือเนื้อเรื่องที่ไม่ซับซ้อน
3. เด็กประถมอายุ 6-9 ปี
ใช้ตัวอักษรให้มากขึ้น เนื้อเรื่องซับซ้อนมากขึ้น เล่าเรื่องที่เหมือนได้ประสบการณ์การผจญภัย หรือหาของที่ซ่อนอยู่ในภาพจะช่วยดึงดูดความสนใจให้เด็กๆ ติดตามนิทานด้วยความสนุก
4. เด็กประถมปลายอายุ 9-12 ปี
เน้นภาพสวย จำนวนตัวละครมากขึ้น เนื้อหาช่วยให้ติดตามเพื่อแก้ปัญหา หรือใช้คำศัพท์ที่ยากขึ้น จะฝึกทักษะการฟังและจับใจความที่เป็นประโยชน์ในการเรียนหนังสือของเด็กๆ
ประโยชน์ของการเล่านิทาน
1. นิทานช่วยปลูกฝังให้เด็กเล็กเป็นคนช่างคิด ช่างถามและช่างสังเกต มีความมั่นใจ ฉลาด กล้าแสดงความคิดเห็น คือมีความฉลาดทั้งทางปัญญา (IQ) และฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
2. นิทานทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาได้เร็วขึ้น เพราะการเล่านิทานเปรียบเสมือนการสอนภาษาไปในตัว เมื่อเด็กได้ยินได้ฟัง ก็จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนภาษามากขึ้น
3. นิทานทำให้เด็กจับประเด็นและวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆได้ดีขึ้น เพราะการเล่านิทานซ้ำ จนเด็กจำได้ทั้งเรื่อง จะทำให้เด็กมองเห็นภาพรวมของเรื่อง และจับประเด็นสำคัญจากเรื่องได้ง่ายขึ้น
4. นิทานจะช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ ในขณะที่พ่อแม่เล่านิทานนั้น น้ำเสียงที่ใช้เล่าเรื่องจะกระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการเป็นภาพ ดังนั้น การเล่านิทานหลายๆเรื่องจึงเป็นการสร้างจินตนาการใหม่ให้กับเด็ก
5. นิทานช่วยสร้างสมาธิให้แก่เด็ก เพราะช่วงเวลาเล่านิทาน เด็กจะตั้งใจฟังนิทานอย่างใจจดใจจ่อ ยิ่งเมื่อเล่านิทานที่มีความหมายเหมาะกับช่วงวัยแล้ว เด็กก็จะเข้าใจเรื่องนิทานได้ง่ายขึ้น ถือเป็นการสร้างสมาธิให้กับเด็กอีกหนึ่งวิธี