Bangpakok Hospital

ลูกนอนดึก มีความเสี่ยง ความสูงไม่ถึงเกณฑ์และพัฒนาการไม่สมวัย

27 เม.ย. 2565



ปัญหาการนอนเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนเคยเจอ ในเด็กบางคนสามารถนอนยาวๆได้เอง แต่ก็จะมีบางคนที่หลับยาก หลับได้ไม่นานก็ตื่นมาร้องไห้ งอแง จึงทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลว่าลูกจะเจริญเติบโตไม่สมวัย ตัวเตี้ย หรือมีพัฒนาการที่ไม่สมวัยได้

เพราะในช่วงที่ลูกหลับเป็นช่วงที่ร่างกายและสมองได้พักผ่อน ร่างกายหลั่ง Growth Hormone ที่จะช่วยให้ลูกเจริญเติบโตสมวัย ช่วยเนื้อเยื้อต่างๆในร่างกายให้แข็งแรง กล้ามเนื้อแน่น สร้างภูมิต้านทาน พัฒนาการด้านสมอง เมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยเกี่ยวกับเรื่องการนอนของลูก ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกได้รับการนอนหลับที่เหมาะสมเพียงพอแล้วหรือยัง เพราะหากนอนไม่เพียงพออาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกายลูกได้ๆ

โกรทฮอร์โมน คืออะไร

โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) เป็นฮอร์โมนสำคัญที่ร่างกายผลิตขึ้นเองได้ ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้าง และซ่อมแซมเนื้อเยื้อส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต โกรทฮอร์โมนจึงสำคัญมากในวัยเด็ก เพราะช่วยให้ลูกเจริญเติบโตสมวัย เสริมสร้างภูมิต้านทาน พัฒนาการสมอง เมื่อลูกได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอตื่นเช้ามาจะรู้สึกแจ่มใส ร่างกายมีความพร้อมในการทำกิจกรรมต่างๆ มีสมาธิและมีความจำดี

 

 โกรทฮอร์โมนหลั่งเวลาไหน

โกรทฮอร์โมนจะผลิตในขณะที่กำลังนอนหลับ มีการหลั่งในชั่วโมงแรกหลังจากที่หลับสนิท ระหว่าง 5 ทุ่ม ถึงตี 3 หากลูกหลับไม่สนิทหรือนอนดึกโดยเฉพาะหลังเที่ยงคืนร่างกายก็จะไม่สร้างโกรทฮอร์โมน

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกขาดโกรทฮอร์โมน

โกรทฮอร์โมน จะผลิตได้ดีหากลูกนอนหลับพักผ่อนและออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม เมื่อโกรทฮอร์โมนทำงานผิดปกติ นอกจากอัตราการเจริญเติบโตน้อยกว่าค่าปกติแล้ว ลูกยังอาจมีอาการเสียงเล็กแหลม รูปร่างเตี้ยจ้ำม่ำ ในเพศชายอาจพบว่ามีอวัยวะเพศเล็กกว่าเด็กทั่วไป ในเด็กบางคนที่ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตชริดรุนแรงจะพบว่ามีน้ำตาลต่ำ และอาจเป็นสาเหตุให้ลูกชักจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตการเจริญเติบโตของลูกอย่างมาเสมอ หากลูกมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แสดงว่ามีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ

  1. ลูกตัวเล็กกว่ามาตรฐานมาโดยตลอด
  2. ช่วงอายุ 4-9 ปี การเพิ่มของส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า 5 ซม./ปี
  3. พล็อตกราฟความสูงแล้วความสูงต่ำกว่าเกณฑ์ในช่วงอายุนั้นๆ
  4. อัตราการเพิ่มส่วนสูงภายใน 4 ปีน้อยกว่าปีละ 5 ซม.
  5. เมื่ออายุ 1 ปีครึ่งขึ้นไป ขนาดร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ และตอนคลอดมีภาวะคลอดยาก คลอดแล้วต้องให้ออกซิเจน
  6. คลอดออกมาแล้วตัวเล็ก เช่น น้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กก. ความยาวแรกเกิดต่ำกว่า 50 ซม.
  7. 3-4 ปีที่ผ่านมาไม่เคยเปลี่ยนไซส์รองเท้าเลย

วิธีป้องกันการขาดโกรทฮอร์โมน

  1. หมั่นชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของลูกอยู่เสมอ ตั้งแต่หลังคลอด วัยเตาะแตะ วัยเรียนจนถึงวัยรุ่น
  2. พาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคต่างๆ
  3. ระวังเรื่องการเจ็บป่วยเรื้อรัง และไม่ควรให้ลูกได้รับความกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะอย่างแรง เช่น หกล้ม ศีรษะกระแทกพื้น
  4. ควรเลือกสรรอาการที่ถูกหลักโภชนาการ และรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่ให้วิตามินและแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการนอนหลับสนิท จะช่วยกระตุ้นให้สร้างโกรทฮอร์โมน
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนได้ดี
  7. ทุกครั้งที่พาลูกไปหาหมอให้บันทึกน้ำหนักตัวและส่วนสูงของลูกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพ เพราะข้อมูลที่บันทึกจะมีประโยชน์อย่างมากสำหรับกุมารแพทย์ที่ดูแลปัญหาด้านการเจริญเติบโตของเด็ก
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.