5 โรคในช่วงฤดูร้อน ที่ต้องระวัง
ช่วงนี้หลายพื้นที่อากาศเริ่มร้อนระอุ เป็นสัญญาณที่บอกว่าฤดูร้อนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ซึ่งอากาศร้อนนั้นเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย จึงต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดของอาหารและเครื่องดื่มเป็นพิเศษ
ควรทานอาหารร้อนที่ปรุงสุดใหม่ๆ ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร และดื่มน้ำที่สะอาด เพราะสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการป่วยมักมาจากน้ำ อาหารที่ไม่สะอาด
ดังนั้นควรทำความรู้จักกับ 5 โรคที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและระมัดระวังการใช้ชีวิตกันมากขึ้น
5 โรคในช่วงฤดูร้อน ที่ต้องระวัง
1.โรคอุจจาระร่วง
เกิดจากการติดเชื้อหลายประเภททั้งแบคทีเรีย ไวรัส และกลุ่มเชื้อโปรโตชัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่มีโอกาสบูดเสียได้ง่ายในอากาศที่ร้อนจัด
- อาการ
ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกเลือดภายใน 24 ชม. และอาจมีอาการอาเจียน
- โรคอาหารเป็นพิษ
อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร พบได้มากในช่วงหน้าร้อน เกิดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากเชื้อบิด เชื้อสแตปฟีโลคอกคัส และเชื้อบาซิลลัส เป็นสารที่ทนต่อความร้อนพบบ่อยในอาหารประเภทไส้กรอก กุนเชียง
- อาการ
มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ท้องเสีย
- โรคไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย
เกิดจากการรับเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย
- อาการ
ไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก ถ่ายเหลว ผื่นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว
- โรคอหิวาตกโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae เข้าสู่ร่างกายโดยทางอาหารและน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปนเปื้อนอยู่
- อาการ
ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่ปวดท้อง อาจมีอุจาระไหลพุ่งออกเองโดยไม่รู้ตัว สีขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว คลื่นไส้ อาเจียน
- โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ การใช้เข็มฉีดยาและการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ
- อาการ
มีไข้อ่อนๆ เหนื่อยล้า ปวดหัว ท้องผูก ปวดท้องขวาบน ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ ปัสสาวะสีเข้ม ตาและตัวเหลือง