มะเร็งตับอันตราย รู้ก่อน..รักษาได้
มะเร็งตับ เป็นโรคมะเร็งที่รุนแรงชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้ชายไทย ซึ่งมะเร็งตับจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมะเร็งที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดี
โรคมะเร็งตับในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการบ่งบอก จนกระทั่งก้อนมะเร็งเริ่มขยายขึ้นร่างกายจะไม่สามารถรักษาสภาพสมดุลได้จึงทำให้มีความผิดปกติของหน้าที่ตับจึงมีอาการ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บช่องท้องส่วนบน
หากมีอาการเหล่านี้หรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคดังกล่าวควรรีบพบแพทย์เพิ่มเข้ารับการวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี หรือควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
1. ไวรัสตับอักเสบ ส่วนใหญ่ร้อยละ 75-80 ของผู้ป่วยมะเร็งตับเกิดในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร้อยละ 50-55 และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ร้อยละ 25-30 โดยผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงมากกว่าคนไม่เป็นถึง 100-400 เท่า
2. เป็นโรคตับแข็ง
3. ดื่มแอลกอฮอล์ มีการศึกษาพบว่าถ้าดื่มแอลกอฮอล์ 41-80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 1.5 เท่า และดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 7.3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน
4. สารอัลฟลาท๊อกซิน เกิดจากเชื้อราบางชนิดจะพบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง ผู้ที่ตรวจพบว่ามีสารอัลฟลาท๊อกซินจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ 5.0-9.1 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ตรวจไม่พบสารดังกล่าวในร่างกาย
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ
กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ
1. ผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งหญิงและชาย ซึ่งมีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1-4% ต่อปี
2. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอดหรือวัยเด็กและยังไม่มีโรคตับแข็ง แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงในเพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็ง
3. ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
วิธีการตรวจหามะเร็งตับ
1. การตรวจทางรังสีวิทยา ได้แก่ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยอาจใช้การฉีดสารทึบแสงร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย
2. การตรวจหาระดับของสารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน ซึ่งอาจพบสูงขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งตับ
วิธีการป้องกัน
1. รับประทานอาหารให้เหมาะสม หลีกเสี่ยงการรับประทานถั่วป่นและพริกแห้ง ซึ่งอาจมีสารอัลฟ่าท๊อกซินปนเปื้อนอยู่ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
3. ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
4. กรณีที่มีภาวะตับแข็งแล้ว ควรได้รับการตรวจเลือดและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และอัลตร้าซาวนด์ช่องท้องส่วนบนอย่างสม่ำเสมอทุก 6-12 เดือน เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งตับ
1. ไวรัสตับอักเสบ ส่วนใหญ่ร้อยละ 75-80 ของผู้ป่วยมะเร็งตับเกิดในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีร้อยละ 50-55 และติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ร้อยละ 25-30 โดยผู้ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงมากกว่าคนไม่เป็นถึง 100-400 เท่า
2. เป็นโรคตับแข็ง
3. ดื่มแอลกอฮอล์ มีการศึกษาพบว่าถ้าดื่มแอลกอฮอล์ 41-80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ 1.5 เท่า และดื่มมากกว่า 80 กรัมต่อวัน จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็น 7.3 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่มหรือดื่มแอลกอฮอล์น้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน
4. สารอัลฟลาท๊อกซิน เกิดจากเชื้อราบางชนิดจะพบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง ผู้ที่ตรวจพบว่ามีสารอัลฟลาท๊อกซินจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ 5.0-9.1 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ตรวจไม่พบสารดังกล่าวในร่างกาย
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ
กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตับ
1. ผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งหญิงและชาย ซึ่งมีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1-4% ต่อปี
2. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี หรือผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกคลอดหรือวัยเด็กและยังไม่มีโรคตับแข็ง แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงในเพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็ง
3. ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว
วิธีการตรวจหามะเร็งตับ
1. การตรวจทางรังสีวิทยา ได้แก่ การตรวจอัลตร้าซาวนด์ การตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยอาจใช้การฉีดสารทึบแสงร่วมด้วยเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย
2. การตรวจหาระดับของสารอัลฟ่าฟีโตโปรตีน ซึ่งอาจพบสูงขึ้นในผู้ป่วยมะเร็งตับ
วิธีการป้องกัน
1. รับประทานอาหารให้เหมาะสม หลีกเสี่ยงการรับประทานถั่วป่นและพริกแห้ง ซึ่งอาจมีสารอัลฟ่าท๊อกซินปนเปื้อนอยู่ และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
2. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่
3. ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ในกรณีที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน
4. กรณีที่มีภาวะตับแข็งแล้ว ควรได้รับการตรวจเลือดและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และอัลตร้าซาวนด์ช่องท้องส่วนบนอย่างสม่ำเสมอทุก 6-12 เดือน เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งตับ