รู้จักกับภาวะน้ำคร่ำน้อย อันตรายสูงในหญิงตั้งครรภ์
กลุ่มอาการพอตเตอร์ (Potter syndrome) หรือ ภาวะเกิดต่อเนื่องพอตเตอร์ (Potter's sequence) หรือ ภาวะต่อเนื่องจากน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios sequence) เป็นความปกติของตัวอ่อนหรือทารกที่เกิดจากการมีน้ำคร่ำน้อย จนทำให้การเจริญของทารกในครรภ์ผิกปกติไป
ซึ่งภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ไตไม่เจริญทั้งสองข้าง ท่อไตหรือท่อปัสสาวะตัน โรคถุงน้ำในไต น้ำคร่ำรั่วซึม ครรภ์เป็นพิษ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำคร่ำน้อย อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์มีพัฒนาการที่ผิดปกติและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้
ภาวะน้ำคร่ำน้อย เป็นภาวะที่เกิดอันตรายต่อคุณแม่ และทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก การฝากครรภ์และมาตามนัดพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ได้รับการวินิจฉัยได้ทันเวลา ช่วยลดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ได้
ประโยชน์ของน้ำคร่ำ
น้ำคร่ำประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น โซเดียม คลอไรด์ เหล็ก ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของทารก และควบคุมอุณหภูมิของทารก ช่วยเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากแรงกระแทกต่างๆ และช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวอย่างคล่องตัว เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาการอวัยวะต่างๆของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อและข้อ
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์น้ำคร่ำสร้างจากถุงการตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า ถุงแอมเนี่ยน ส่วนในช่วงไตรมาสที่สอง หลังจากระบบขับถ่ายทารกในครรภ์เริ่มพัฒนา น้ำคร่ำส่วนใหญ่มาจากการถ่ายปัสสาวะของทารกในครรภ์ โดยจะสร้างได้ถึงวันละ 700-900 cc
ดังนั้นในรายที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็จะทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยตามมาได้ น้ำคร่ำหมุนเวียนโดยเมื่อสร้างออกมาอยู่ในถุงน้ำคร่ำแล้ว ทารกจะกลืนเข้าไปทางปากและดูดซึมโดยสำไส้ นอกจากนี้ยังเข้าในระบบทางเดินหายใจ และดูดซึมโดยเส้นเลือดในถุงลม
สาเหตุการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย
เกิดจากความผิดปกติของทารก เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม ความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น การไม่พัฒนาของไต หรือการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะรกเสื่อม ภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง การขาดเลือด และสารอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ จนทำให้เกิดภาวะการเจริญเติบโตช้าของทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำน้อย มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะถ้าเกิดตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ อัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 90 ถ้าเกิดตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน 22 สัปดาห์ และตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย และความผิดปกติของโครโมโซมสูงขึ้น น้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และอาจทำให้อวัยวะของทารกในครรภ์ผิดปกติจากการกดเบียดทารกในครรภ์ เรียกว่า Potter sequence คือ พบใบหน้าผิดรูป แขนขา และมือเท้าผิดรูป และที่พบบ่อยคือ ภาวะเท้าปุก คือการที่ทารกต้องเจริญเติบโตในมดลูกที่แคบกว่าปกติ ทำให้ปอดแฟบ ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซของทารก และมีผลต่อพัฒนาการของสมองตามมา
น้ำคร่ำประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น โซเดียม คลอไรด์ เหล็ก ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ของทารก และควบคุมอุณหภูมิของทารก ช่วยเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากแรงกระแทกต่างๆ และช่วยให้ทารกเคลื่อนไหวอย่างคล่องตัว เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาการอวัยวะต่างๆของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะระบบกล้ามเนื้อและข้อ
ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์น้ำคร่ำสร้างจากถุงการตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า ถุงแอมเนี่ยน ส่วนในช่วงไตรมาสที่สอง หลังจากระบบขับถ่ายทารกในครรภ์เริ่มพัฒนา น้ำคร่ำส่วนใหญ่มาจากการถ่ายปัสสาวะของทารกในครรภ์ โดยจะสร้างได้ถึงวันละ 700-900 cc
ดังนั้นในรายที่มีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็จะทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อยตามมาได้ น้ำคร่ำหมุนเวียนโดยเมื่อสร้างออกมาอยู่ในถุงน้ำคร่ำแล้ว ทารกจะกลืนเข้าไปทางปากและดูดซึมโดยสำไส้ นอกจากนี้ยังเข้าในระบบทางเดินหายใจ และดูดซึมโดยเส้นเลือดในถุงลม
สาเหตุการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย
เกิดจากความผิดปกติของทารก เช่น ความผิดปกติของโครโมโซม ความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ เช่น การไม่พัฒนาของไต หรือการอุดตันของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะรกเสื่อม ภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง การขาดเลือด และสารอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ จนทำให้เกิดภาวะการเจริญเติบโตช้าของทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ภาวะน้ำคร่ำน้อย มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะถ้าเกิดตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ อัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 90 ถ้าเกิดตั้งแต่อายุครรภ์ก่อน 22 สัปดาห์ และตรวจพบความผิดปกติของร่างกาย และความผิดปกติของโครโมโซมสูงขึ้น น้ำคร่ำน้อยจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และอาจทำให้อวัยวะของทารกในครรภ์ผิดปกติจากการกดเบียดทารกในครรภ์ เรียกว่า Potter sequence คือ พบใบหน้าผิดรูป แขนขา และมือเท้าผิดรูป และที่พบบ่อยคือ ภาวะเท้าปุก คือการที่ทารกต้องเจริญเติบโตในมดลูกที่แคบกว่าปกติ ทำให้ปอดแฟบ ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซของทารก และมีผลต่อพัฒนาการของสมองตามมา