วิธีการนับวันตกไข่ สิ่งสำคัญของคุณแม่มือใหม่
สิ่งสำคัญของคู่รักที่ต้องการมีลูกแบบธรรมชาติ ก็คือการนับวันตกไข่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้เป็นอย่างดี และเนื่องจากการตกไข่จะเกิดขึ้นเดือนละครั้ง จึงทำให้ต้องมีการวางแผนที่ดีสำหรับคนที่มีความพร้อมจะเป็นคุณแม่
โดยช่วงเวลาที่ไข่พร้อมผสมจะรออยู่ที่ตำแหน่งปลายท่อนำไข่เพียง 12-24 ชม. ของในแต่ละเดือนเท่านั้น หากมีการปฏิสนธิในช่วงเวลานี้ได้ ไข่จะเข้าไปฝังกับเยื่อบุหนังมดลูกกลายเป็นตัวอ่อน และเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น แต่หากไข่ไม่ปฏิสนธิภายใน 14 วัน ก็จะเป็นเลือดประจำเดือนปกติ
ฉะนั้นสำหรับคู่รักที่อยากจะตั้งครรภ์แบบธรรมชาติ และอยากมีลูกง่ายตามที่หวัง แอดมินจึงมีเทคนิคการนับวิธีวันตกไข่มาฝาก ซึ่งวิธีการเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์กับคู่รักหลายๆคู่ที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
เทคนิคการนับวันตกไข่ หรือ วันไข่ตก
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนช่วงไข่ตกประมาณ 1-2 วัน อสุจิจะเข้าไปรอที่รังไข่เพื่อรอให้ไข่ตกลงมาและทำการปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้วันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยปกติแล้วไข่จะตกในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา ถ้าผู้หญิงที่รอบเดือนมาสม่ำเสมอและมีรอบเดือนมาทุกๆ 28 วัน วันไข่ตกก็อยู่ในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน
วิธีคำนวณวันไข่ตก
สิ่งแรกที่ควรทำคือการจดบันทึกวันที่ประจำเดือนมาไว้ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 8-12 เดือน แล้วนำมาทำการคำนวณหา ดังนี้
1. หาความยาวรอบเดือน ให้นับย้อนไปวันแรกที่มีประจำเดือนเดือนล่าสุด ถึงวันแรกที่มีประจำเดือนเดือนที่แล้ว เช่น เดือนล่าสุด คือวันที่ 8 มี.ค. เดือนที่แล้ว 6 เม.ย. เมื่อนับแล้วมีความยาวรอบเดือน 30 วัน
2. หาวันตกไข่ โดยนำเอา ความยาวรอบเดือน-ระยะที่ไข่ตก เช่น 30 วัน - 14 วัน = วันตกไข่ คือวันที่ 16 ของความยาวรอบเดือน จากนั้นนำวันแรกของการมีประจำเดือนเดือนล่าสุด คือ วันที่ 8 มี.ค. แล้วนับไป 16 วัน ก็จะได้วันไข่ตก คือ 23 มี.ค. เมื่อรู้วันไข่ตกแล้วก็สามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันไข่ตก และหลังวันตกไข่ได้ประมาณ 2 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ไข่และอสุจิได้มาเจอกันมากที่สุด
วิธีสังเกตอาการตกไข่
1. ตกขาวเยอะกว่าเดิม หากสังเกตว่าช่วงนี้มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ นั่นอาจเป็นอาการของไข่กำลังจะตกโดยทางการแพทย์จะเรียกตกขาวนั่นว่า มูกที่ปากมดลูก (Cervical Mucus) ซึ่งมูกชนิดนี้เป็นมูกที่จะช่วยให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น
2. มีอารมณ์ทางเพศ ในช่วงจังหวะที่ตรงกับช่วงไข่ตก ผู้หญิงจะมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาทางร่างกายที่มรการสูบฉีดเลือดมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงมีอารมณ์มากขึ้น และนอกจากนี้ฮอร์โมนในร่างกายจะช่วยให้ร่างกายของผู้หญิงมีน้ำมีนวล
3. อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาตกไข่ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนและเลือดที่สูบฉีดเพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
4. มีอาการเจ็บคัดเต้านม ในช่วงไข่ตกบางรายอาจมีความรู้สึกเจ็บตึง คัดที่หน้าอก นั่นอาจเป็นอาการที่กำลังอยู่ในช่วงไข่ตก เนื่องจากฮอร์โมนมีปริมาณที่สูงขึ้นกว่าปกติ แต่อาจไม่แม่นยำเสมอไปเพราะการเจ็บเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
5. ปวดท้องน้อยข้างเดียว ช่วงที่มีการตกไข่ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หลายราย มักจะมีอาการปวดที่ท้องน้อยนิดๆ อาการเหล่านี้เกิดจากร่างกายได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเจริญพันธุ์ภายในให้เหมาะสมสำหรับฝังตัวของตัวอ่อนนั่นเอง
อาหารบำรุงระบบสืบพันธุ์
หากมีการวางแผนการตั้งครรภ์แล้ว การบำรุงร่างกายรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และสารอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสุขภาพร่างกายและรบบสืบพันธุ์ที่แข็งแรง โดยอาหารหลายชนิดมีบทบาทสำคัญ เช่น
1. ผักใบเขียวมีโฟเลตและวิตามินบีสูง ช่วยเร่งการตกไข่ของฝ่ายหญิง และทำให้อสุจิของฝ่ายชายแข็งแรงขึ้น
2. รับประทานถั่ว ธัญพืชมากขึ้น เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็ก มีส่วนช่วยให้ฝ่ายหญิงมีมดลูกแข็งแรงและผลิตไข่ที่มีคุณภาพ
3. รับประทานปลามีโปรตีน วิตามินดี และไขมันต่ำ เช่น ปลาทู แซลมอน รวมทั้งเพิ่มโปรตีนจากพืชมากกว่าเนื้อสัตว์ เช่น เมล็ดถั่ว ถั่วเหลือง หรือ เต้าหู้
4. รับประทานอาหารที่มีสังกะสี แมงกานีส และเบต้าแคโรทีน เช่น แครอท จะช่วยเพิ่มปริมาณอสุจิและระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่วนแอปริคอตมีสารเบต้าแคโรทีนและแมงกานีสสูง ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดถูกใช้ในการสร้างฮอร์โมน
5. อาหารที่มีวิตามินบี 12 มีส่วนต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางเพศ
6. รับประทานอาหารที่มีโฟเลต หรือ กรดโฟลิก เช่น ผักใบเขียวเข้ม แครอท อาโวคาโด ธัญพืชขัดสี ขนมปังไม่ขัดสี ผักโขม ตับ ไข่แดง เป็นต้น
การมีเพศสัมพันธ์ก่อนช่วงไข่ตกประมาณ 1-2 วัน อสุจิจะเข้าไปรอที่รังไข่เพื่อรอให้ไข่ตกลงมาและทำการปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้วันไข่ตกของผู้หญิงแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยปกติแล้วไข่จะตกในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนที่ประจำเดือนรอบใหม่จะมา ถ้าผู้หญิงที่รอบเดือนมาสม่ำเสมอและมีรอบเดือนมาทุกๆ 28 วัน วันไข่ตกก็อยู่ในช่วงวันที่ 14 ของรอบเดือน
วิธีคำนวณวันไข่ตก
สิ่งแรกที่ควรทำคือการจดบันทึกวันที่ประจำเดือนมาไว้ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 8-12 เดือน แล้วนำมาทำการคำนวณหา ดังนี้
1. หาความยาวรอบเดือน ให้นับย้อนไปวันแรกที่มีประจำเดือนเดือนล่าสุด ถึงวันแรกที่มีประจำเดือนเดือนที่แล้ว เช่น เดือนล่าสุด คือวันที่ 8 มี.ค. เดือนที่แล้ว 6 เม.ย. เมื่อนับแล้วมีความยาวรอบเดือน 30 วัน
2. หาวันตกไข่ โดยนำเอา ความยาวรอบเดือน-ระยะที่ไข่ตก เช่น 30 วัน - 14 วัน = วันตกไข่ คือวันที่ 16 ของความยาวรอบเดือน จากนั้นนำวันแรกของการมีประจำเดือนเดือนล่าสุด คือ วันที่ 8 มี.ค. แล้วนับไป 16 วัน ก็จะได้วันไข่ตก คือ 23 มี.ค. เมื่อรู้วันไข่ตกแล้วก็สามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ในช่วงก่อนวันไข่ตก และหลังวันตกไข่ได้ประมาณ 2 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้ไข่และอสุจิได้มาเจอกันมากที่สุด
วิธีสังเกตอาการตกไข่
1. ตกขาวเยอะกว่าเดิม หากสังเกตว่าช่วงนี้มีอาการตกขาวมากกว่าปกติ นั่นอาจเป็นอาการของไข่กำลังจะตกโดยทางการแพทย์จะเรียกตกขาวนั่นว่า มูกที่ปากมดลูก (Cervical Mucus) ซึ่งมูกชนิดนี้เป็นมูกที่จะช่วยให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายขึ้น
2. มีอารมณ์ทางเพศ ในช่วงจังหวะที่ตรงกับช่วงไข่ตก ผู้หญิงจะมีอารมณ์ทางเพศสูงขึ้น เนื่องจากเป็นปฏิกิริยาทางร่างกายที่มรการสูบฉีดเลือดมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงมีอารมณ์มากขึ้น และนอกจากนี้ฮอร์โมนในร่างกายจะช่วยให้ร่างกายของผู้หญิงมีน้ำมีนวล
3. อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาตกไข่ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนและเลือดที่สูบฉีดเพิ่มขึ้นทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น
4. มีอาการเจ็บคัดเต้านม ในช่วงไข่ตกบางรายอาจมีความรู้สึกเจ็บตึง คัดที่หน้าอก นั่นอาจเป็นอาการที่กำลังอยู่ในช่วงไข่ตก เนื่องจากฮอร์โมนมีปริมาณที่สูงขึ้นกว่าปกติ แต่อาจไม่แม่นยำเสมอไปเพราะการเจ็บเต้านมสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย
5. ปวดท้องน้อยข้างเดียว ช่วงที่มีการตกไข่ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หลายราย มักจะมีอาการปวดที่ท้องน้อยนิดๆ อาการเหล่านี้เกิดจากร่างกายได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเจริญพันธุ์ภายในให้เหมาะสมสำหรับฝังตัวของตัวอ่อนนั่นเอง
อาหารบำรุงระบบสืบพันธุ์
หากมีการวางแผนการตั้งครรภ์แล้ว การบำรุงร่างกายรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และสารอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีสุขภาพร่างกายและรบบสืบพันธุ์ที่แข็งแรง โดยอาหารหลายชนิดมีบทบาทสำคัญ เช่น
1. ผักใบเขียวมีโฟเลตและวิตามินบีสูง ช่วยเร่งการตกไข่ของฝ่ายหญิง และทำให้อสุจิของฝ่ายชายแข็งแรงขึ้น
2. รับประทานถั่ว ธัญพืชมากขึ้น เพราะอุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็ก มีส่วนช่วยให้ฝ่ายหญิงมีมดลูกแข็งแรงและผลิตไข่ที่มีคุณภาพ
3. รับประทานปลามีโปรตีน วิตามินดี และไขมันต่ำ เช่น ปลาทู แซลมอน รวมทั้งเพิ่มโปรตีนจากพืชมากกว่าเนื้อสัตว์ เช่น เมล็ดถั่ว ถั่วเหลือง หรือ เต้าหู้
4. รับประทานอาหารที่มีสังกะสี แมงกานีส และเบต้าแคโรทีน เช่น แครอท จะช่วยเพิ่มปริมาณอสุจิและระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ส่วนแอปริคอตมีสารเบต้าแคโรทีนและแมงกานีสสูง ซึ่งสารอาหารทั้งสองชนิดถูกใช้ในการสร้างฮอร์โมน
5. อาหารที่มีวิตามินบี 12 มีส่วนต่อการสร้างสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางเพศ
6. รับประทานอาหารที่มีโฟเลต หรือ กรดโฟลิก เช่น ผักใบเขียวเข้ม แครอท อาโวคาโด ธัญพืชขัดสี ขนมปังไม่ขัดสี ผักโขม ตับ ไข่แดง เป็นต้น