ต่อมทอนซิลอักเสบ โรคฮิตของวัยเด็ก
ลีนนอก
ต่อมทอนซิล (Tonsils) เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ ประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด มีหน้าที่หลักคือ การจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหาร หน้าที่รองคือ สร้างภูมิคุ้มกัน
ต่อมทอนซิลอักเสบมักจะพบบ่อยในเด็กช่วงอายุก่อน 10 ขวบ เนื่องจากเด็กๆจะมีภูมิต้านทานที่ยังไม่แข็ง และมักจะนำสิ่งของใกล้ตัวต่างๆ เช่น ของเล่น หรือมือที่ไม่สะอาดเข้าปากอยู่บ่อยครั้ง หรือรับเชื้อโดยตรงจากผู้ที่ป่วยแล้วไอจามไม่ปิดปาก จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
ลีนนอก
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวัง และทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกให้น้อยที่สุด หรือหากเด็กที่อยู่ในภาวะต่อมทอนซิลอักเสบแล้ว ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และรักษาให้หายขาด เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ตามมา
อาการของผู้ป่วยที่ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
ผู้ป่วยที่มีอาการทอลซิลอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากโดยเฉพาะเวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก คนไข้เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล เพราะกลืนลำบากและไม่สามารถกลืนน้ำลายได้น้ำลายจึงไหลออกมา หรือคนไข้ที่เจ็บคอมากๆ อาจมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร
โรคแทรกซ้อน
เชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อหัวใจของเด็กได้ โดยเชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่างๆ และมักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย หรือเรียกว่า “ไข้รูมาติก” โดยทั่วไปจะพบภายหลังที่ต่อมทอนซิลอักเสบแล้วไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-4 สัปดาห์ หากปล่อยไว้นานโดยไม่รับการรักษา อาจทำให้หัวใจอักเสบเรื้อรังจนตีบและรั่ว หรือที่เรียกว่า “โรคหัวใจรูมาติก”
วิธีการรักษา
จะแบ่งการรักษาเป็น 3 ระดับ คือ
1. ขั้นต้น กรณีที่เป็นจากเชื้อไวรัส แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนเยอะๆ ทานอาหารรสอ่อน ให้ยาแก้ปวดลดไข้ตามอาการ
2. ขั้นกลาง ถ้าอาการรุนแรงขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ อาการป่วยจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
3. ขั้นรุนแรง กรณีที่เป็นบ่อย และรุนแรง มีการอุดกั้นทางเดินหายใจร่วมด้วย และเป็น 3-4 ครั้งภายใน 1 ปี แพทย์จะพิจารณาผ่าตัด เพื่อรักษาให้หายขาด
ลีน
วิธีการดูแลเมื่อต่อมทอนซิลอักเสบ
1. รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดหรือรสจัด
3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4. หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว
5. หลังรับประทานอาหาร ควรทำความสะอาดคอ ด้วยการแปรงฟัน หรือกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก น้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำเปล่าหลังอาหารทุกมื้อ
วิธีการป้องกัน
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
2. กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
3. ดื่มน้ำมากๆ
4. ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกัน
5. หมั่นล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจติดมากับมือ
ต่อมทอนซิล (Tonsils) เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อ ประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด มีหน้าที่หลักคือ การจับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหาร หน้าที่รองคือ สร้างภูมิคุ้มกัน
ต่อมทอนซิลอักเสบมักจะพบบ่อยในเด็กช่วงอายุก่อน 10 ขวบ เนื่องจากเด็กๆจะมีภูมิต้านทานที่ยังไม่แข็ง และมักจะนำสิ่งของใกล้ตัวต่างๆ เช่น ของเล่น หรือมือที่ไม่สะอาดเข้าปากอยู่บ่อยครั้ง หรือรับเชื้อโดยตรงจากผู้ที่ป่วยแล้วไอจามไม่ปิดปาก จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่าย
ลีนนอก
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวัง และทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกให้น้อยที่สุด หรือหากเด็กที่อยู่ในภาวะต่อมทอนซิลอักเสบแล้ว ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และรักษาให้หายขาด เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ตามมา
อาการของผู้ป่วยที่ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
ผู้ป่วยที่มีอาการทอลซิลอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบากโดยเฉพาะเวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก คนไข้เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล เพราะกลืนลำบากและไม่สามารถกลืนน้ำลายได้น้ำลายจึงไหลออกมา หรือคนไข้ที่เจ็บคอมากๆ อาจมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร
โรคแทรกซ้อน
เชื้อเบตา สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อหัวใจของเด็กได้ โดยเชื้อนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่างๆ และมักมีอาการอักเสบของหัวใจร่วมด้วย หรือเรียกว่า “ไข้รูมาติก” โดยทั่วไปจะพบภายหลังที่ต่อมทอนซิลอักเสบแล้วไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-4 สัปดาห์ หากปล่อยไว้นานโดยไม่รับการรักษา อาจทำให้หัวใจอักเสบเรื้อรังจนตีบและรั่ว หรือที่เรียกว่า “โรคหัวใจรูมาติก”
วิธีการรักษา
จะแบ่งการรักษาเป็น 3 ระดับ คือ
1. ขั้นต้น กรณีที่เป็นจากเชื้อไวรัส แพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนเยอะๆ ทานอาหารรสอ่อน ให้ยาแก้ปวดลดไข้ตามอาการ
2. ขั้นกลาง ถ้าอาการรุนแรงขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ อาการป่วยจะดีขึ้นใน 2-3 วัน
3. ขั้นรุนแรง กรณีที่เป็นบ่อย และรุนแรง มีการอุดกั้นทางเดินหายใจร่วมด้วย และเป็น 3-4 ครั้งภายใน 1 ปี แพทย์จะพิจารณาผ่าตัด เพื่อรักษาให้หายขาด
ลีน
วิธีการดูแลเมื่อต่อมทอนซิลอักเสบ
1. รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป
2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ดหรือรสจัด
3. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
4. หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว
5. หลังรับประทานอาหาร ควรทำความสะอาดคอ ด้วยการแปรงฟัน หรือกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก น้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำเปล่าหลังอาหารทุกมื้อ
วิธีการป้องกัน
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
2. กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
3. ดื่มน้ำมากๆ
4. ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกัน
5. หมั่นล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจติดมากับมือ