ห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือด เริ่มต้นได้ง่ายๆจากตัวเรา
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนทั่วโลก จากสถิติขององค์การอนามัยโลก ระบุว่าในปี 2563 มีผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 17.9 ล้านคน ซึ่งถือเป็น 0.23% ของจำนวนประชากรโลก
หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายและเป็นอวัยวะที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา คือ เต้นและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย แม้กระทั่งตอนที่นอนหลับพักผ่อน กล้ามเนื้อหัวใจก็ยังคงต้องทำงาน เราจึงต้องทะนุถนอมหัวใจของเราให้แข็งแรง
ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ตัวว่าเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ เพราะคิดว่าอาการที่เป็นอยู่ เช่น แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย ไม่น่าจะเป็นอะไรแค่พักผ่อนก็อาจจะหายเอง แต่กว่าจะรู้ว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการของโรคหัวใจก็อาจจะสายไป ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การเช็คสุขภาพหัวใจเบื้องต้นด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ปัจจัยที่ทำให้หัวใจไม่แข็งแรง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีการเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆ รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด จึงส่งผลให้เกิดโรคหัวใจตามมา
อาการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
1. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
มีอาการเหนื่อยง่าย หอบหายใจลำบาก หลายๆคนอาจคิดว่าเป็นเพราะออกแรงมาก โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไปเอง แต่บางครั้งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในขณะหลับด้วย
2. เจ็บแน่นหน้าอก
ไม่ว่าจะเจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน เวลานอนราบอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการอึดอัดบริเวณหน้าอก
3. เป็นลมหมดสติโดยไม่มีสาเหตุ
4. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ
นอกจากขาหรือเท้าบวมแล้ว ยังรวมไปถึงปลายนิ้ว ปลายเท้า และริมฝีปาก มีลักษณะเขียวคล้ำซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
ผู้ที่ควรตรวจสุขภาพหัวใจ
1. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน
3. ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย
4. ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูง หรือมีอาการลิ้นหัวใจรั่ว
วิธีดูแลตัวเอง
1. พักผ่อนให้เพียงพอไม่ต่ำกว่า 6-8 ชั่วโมงต่อคืน และไม่ควรนอนดึกจนเกินไป จะช่วยให้หัวใจแข็งแรง และได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
2. ออกกำลังกายครั้งละ 25-30 นาที อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
3. เลือกทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ลดความหวาน มัน และเค็มลง และเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้อย่างสม่ำเสมอ
4. งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
5. ควรตรวจสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
ปัจจัยที่ทำให้หัวใจไม่แข็งแรง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และเมื่ออายุมากขึ้นก็จะมีการเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆ รวมถึงหัวใจและหลอดเลือด จึงส่งผลให้เกิดโรคหัวใจตามมา
อาการเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
1. เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
มีอาการเหนื่อยง่าย หอบหายใจลำบาก หลายๆคนอาจคิดว่าเป็นเพราะออกแรงมาก โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไปเอง แต่บางครั้งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในขณะหลับด้วย
2. เจ็บแน่นหน้าอก
ไม่ว่าจะเจ็บหน้าอกด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน เวลานอนราบอาจจะรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการอึดอัดบริเวณหน้าอก
3. เป็นลมหมดสติโดยไม่มีสาเหตุ
4. ขาหรือเท้าบวมโดยไม่มีสาเหตุ
นอกจากขาหรือเท้าบวมแล้ว ยังรวมไปถึงปลายนิ้ว ปลายเท้า และริมฝีปาก มีลักษณะเขียวคล้ำซึ่งเป็นสัญญาณบอกว่าประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
ผู้ที่ควรตรวจสุขภาพหัวใจ
1. ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เบาหวาน
3. ผู้ที่มีอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย
4. ผู้ที่ตรวจพบความดันโลหิตสูง หรือมีอาการลิ้นหัวใจรั่ว
วิธีดูแลตัวเอง
1. พักผ่อนให้เพียงพอไม่ต่ำกว่า 6-8 ชั่วโมงต่อคืน และไม่ควรนอนดึกจนเกินไป จะช่วยให้หัวใจแข็งแรง และได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
2. ออกกำลังกายครั้งละ 25-30 นาที อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
3. เลือกทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ลดความหวาน มัน และเค็มลง และเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้อย่างสม่ำเสมอ
4. งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่
5. ควรตรวจสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง