5 พฤติกรรมเสี่ยง "ความดันโลหิตสูง"
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือสภาวะความเปลี่ยนแปลงของความดันในหลอดเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ ผลกระทบของความดันโลหิตจะก่อให้เกิดความเสียหายกับหลอดเลือดแดง หากมีความดันโลหิตสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจนำไปสู่สภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด หลอดเลือดอุดตัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาตและโรคสมองเสื่อม
โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่มักจะไม่แสดงอาการที่ชัดเจน ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังมีภาวะความดันโลหิตสูง หากในชีวิตประจำวันมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นได้
ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง แอดมินจึงขอนำข้อมูลดีๆเกี่ยวกับ 5 พฤติกรรมเสี่ยง "ความดันโลหิตสูง" มาฝาก เพื่อเป็นแนวทางป้องกันให้กับทุกคน
พฤติกรรมเสี่ยง
1. น้ำหนักมาก รูปร่างอ้วน
ทานอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น เค้ก เบเกอรี่ เนื้อสัตว์ติดมัน ชีส อาหารสำเร็จรูป เมื่อรับประทานอาหารประเภทนี้เข้าไปปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
2. กินเค็มเป็นนิสัย
เมื่อร่างกายได้รับเกลือ หรืออาหารที่รสเค็มจัด จะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น หากร่างกายได้รับเกลือในปริมาณมากเกินไป จะมีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโรคหิตสูงขึ้นได้
3. ไม่ออกกำลังกาย
หากไม่มีการออกกำลังกายจะทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ ถ้าเผชิญกับทั้งสองโรคนี้ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
4. เครียดมากเกินไป
ความเครียดมีส่วนเร่งให้เกิดความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้น หากรู้ว่าตัวเองมีภาวะความเครียดเรื้อรัง ควรเรียนรู้การปล่อยวางและออกไปเที่ยวพักผ่อนให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
5. สูบบุหรี่
หากสูบบุหรี่มาก นิโคตินก็จะยิ่งเข้าสู่ร่างกายมากจะส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่มีผลไปกระทบต่อความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ และยังส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ
อาการโรคความดันโลหิตสูง
1. ปวดศีรษะ มึนงง
2. คลื่นไส้ อาเจียน
3. หน้ามืดเป็นลม
4. เหนื่อยง่าย
5. นอนไม่หลับ
โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง
1. หัวใจโต มีอาการเหนื่อยง่าย
2. หลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน
3. เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก
4. การทำงานของไตจะเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุของโรคไตวายชนิดเรื้อรัง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง
1. ลดการทานอาหารที่เค็มจัด
2. รับประทานผักและผลไม้
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
5.งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
7. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
8. ไม่เครียด หรือวิตกกังวล
1. น้ำหนักมาก รูปร่างอ้วน
ทานอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น เค้ก เบเกอรี่ เนื้อสัตว์ติดมัน ชีส อาหารสำเร็จรูป เมื่อรับประทานอาหารประเภทนี้เข้าไปปริมาณมากเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
2. กินเค็มเป็นนิสัย
เมื่อร่างกายได้รับเกลือ หรืออาหารที่รสเค็มจัด จะเกิดการดูดน้ำกลับเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น หากร่างกายได้รับเกลือในปริมาณมากเกินไป จะมีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโรคหิตสูงขึ้นได้
3. ไม่ออกกำลังกาย
หากไม่มีการออกกำลังกายจะทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานได้ ถ้าเผชิญกับทั้งสองโรคนี้ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน
4. เครียดมากเกินไป
ความเครียดมีส่วนเร่งให้เกิดความดันโลหิตพุ่งสูงขึ้น หากรู้ว่าตัวเองมีภาวะความเครียดเรื้อรัง ควรเรียนรู้การปล่อยวางและออกไปเที่ยวพักผ่อนให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย
5. สูบบุหรี่
หากสูบบุหรี่มาก นิโคตินก็จะยิ่งเข้าสู่ร่างกายมากจะส่งผลกระตุ้นให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่มีผลไปกระทบต่อความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ และยังส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ
อาการโรคความดันโลหิตสูง
1. ปวดศีรษะ มึนงง
2. คลื่นไส้ อาเจียน
3. หน้ามืดเป็นลม
4. เหนื่อยง่าย
5. นอนไม่หลับ
โรคแทรกซ้อนความดันโลหิตสูง
1. หัวใจโต มีอาการเหนื่อยง่าย
2. หลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน
3. เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก
4. การทำงานของไตจะเสื่อมเร็วกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุของโรคไตวายชนิดเรื้อรัง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงความดันโลหิตสูง
1. ลดการทานอาหารที่เค็มจัด
2. รับประทานผักและผลไม้
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
5.งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
6. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
7. ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
8. ไม่เครียด หรือวิตกกังวล