Bangpakok Hospital

เป็นไข้ขณะตั้งครรภ์ ควรดูแลตัวเองอย่างไร

23 ก.ย. 2564


สุขภาพระหว่างตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง หากไม่สบายหรือมีอาการผิดปกติ ก็อาจส่งผลกระทบไปถึงลูกน้อยในครรภ์ด้วย ยิ่งช่วงที่มีอากาศแปรปรวน บางวันร้อน บางวันฝนตก จะยิ่งทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีระดับภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ เสี่ยงต่อการป่วยได้

และเมื่อคุณแม่ไม่สบายในช่วงขณะตั้งครรภ์ ต้องเป็นกังวลต่อการดูแลตัวเองมากขึ้น จะอึดอัดกับอาการที่เป็นมาก กินยาอะไรก็ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยไหม และสูตินรีแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าช่วงที่ควรหลีกเลี่ยงยาทุกชนิดมากที่สุดก็คือช่วงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรก

คุณแม่จะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ที่จะช่วยลดบรรเทาอาการลง หรือลดความเสี่ยงที่จะไม่สบายได้

ดูแลตัวเองได้ง่ายๆดังนี้
1. พักผ่อนมากๆ เพราะร่างกายคุณแม่อ่อนแอ จำเป็นต้องพักให้ฟื้นความแข็งแรงข้างในให้มากๆ
2. รับประทานอาการที่ดีเพื่อสู้กับเชื้อโรค ถึงคุณแม่อาจจะทานอาหารไม่ลงเท่าไหร่ แต่ก็ยังต้องใส่ใจอาหารที่มีประโยชน์ให้อยู่ในทุกมื้อ ควรเน้นผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะเขือเทศ มะละกอ บร็อคโคลี ผักโขม เป็นต้น
3. อาหารที่มีซิงค์สูง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน มักจะมีอยู่ในเนื้อหมู เนื้อวัว หอยนางรมปรุงสุก ไข่ โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
4. ดื่มน้ำให้มากๆ เวลาน้ำมูกไหลและคัดจมูกทำให้ร่างกายของเราเสียน้ำไปค่อนข้างเยอะ เครื่องดื่มอุ่นๆ จะช่วยบรรเทาอาการได้ดี อย่างพวกซุปไก่ร้อนๆ ทำให้อาการคัดจมูกดีขึ้น รวมทั้งน้ำขิง และจิบน้ำอุ่นตลอดทั้งวัน 

ข้อควรระวัง
1. หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส หรือมีไข้หลายวันแล้วยังไม่หาย แนะนำให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
2. หากทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ สิ่งสำคัญควรหาสาเหตุของการเป็นไข้ให้พบก่อนจะซื้อยาทานด้วยตัวเอง แต่ทางที่ดีควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับยาที่ตรงตามอาการ เพราะยาบางชนิด อาจมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
4. ไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะจะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่าย
5. กินอาการปรุงสุกเสมอ เพื่อป้องกันลำไส้อักเสบ ท้องเสีย อาจทำให้มีไข้และติดเชื้อได้

หากคุณแม่ต้องการหาวิตามินเสริมทาน อย่างวิตามินซีหรือมียาตัวไหนที่ปลอดภัย แนะนำว่าลองปรึกษาคุณหมอ และหากมีอาการป่วยที่รุนแรงจนรู้สึกดูแลตัวเองไม่ไหว ควรรีบพบแพทย์โดยตรง เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์


Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.