เรื่องไม่เบาของคุณแม่กับ...เบาหวานขณะตั้งครรภ์
เมื่อตั้งครรภ์ รกจะสร้างฮอร์โมนบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมนอินซูลินที่คอยคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถ้าภาวะนี้ไม่ได้รับการควบคุม จะทำให้เกิดอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์และส่งผลกระทบต่อทั้งตัวแม่และทารกในครรภ์ได้
ซึ่งโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่มักถูกวินิจฉัยในช่วงสัปดาห์ที่ 24 - 28 ของการตั้งครรภ์ และโดยทั่วไปโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะไม่มีอาการใดๆ ส่วนใหญ่แพทย์จะตรวจพบภาวะดังกล่าวได้จากการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำ
2. ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
3. ปากแห้ง
4. รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์พิษ
2. เกิดภาวะเสื่อมของระบบหลอดเลือด ตา ไต และปลายประสาท
3. เกิดความดันโลหิตสูงติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะ
ความเสี่ยงต่อทารก
1. ทารกจะมีร่างกายใหญ่กว่าปกติ เป็นอุปสรรคต่อการคลอดจนอาจได้รับอันตรายขณะคลอด อาจเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
2. หลังคลอดระบบการหายใจของทารกอาจมีปัญหาพัฒนาช้ากว่าปกติ ไม่สามารถหายใจได้เองเมื่อแรกคลอด
3. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเหลืองหลังคลอดมากกว่าทารกทั่วไป
4. อาจพบระดับน้ำตาลในเลือดทารกต่ำได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลต่อการทำงานของสมอง
ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. มีน้ำหนักเกิน
2. เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนในครรภ์ก่อนหน้า
3. ครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
4. กลุ่มเสี่ยงมีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
5. เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ Polycystic Ovary Syndrome
วิธีป้องกันภาวะอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดทั้งก่อนและตลอดการตั้งครรภ์ ดูแลรักษาจากคุณหมออย่างใกล้ชิดแล้ว ตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เองก็ควรควบคุมระดับน้ำตาลโดยการควบคุมอาหาร พยายามลดอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลและเพิ่มอาหารพวกโปรตีนและผัก และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น มะม่วงหรือทุเรียน พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำ
2. ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
3. ปากแห้ง
4. รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. เสี่ยงต่อการเกิดครรภ์พิษ
2. เกิดภาวะเสื่อมของระบบหลอดเลือด ตา ไต และปลายประสาท
3. เกิดความดันโลหิตสูงติดเชื้อง่ายโดยเฉพาะระบบทางเดินปัสสาวะ
ความเสี่ยงต่อทารก
1. ทารกจะมีร่างกายใหญ่กว่าปกติ เป็นอุปสรรคต่อการคลอดจนอาจได้รับอันตรายขณะคลอด อาจเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด หรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้
2. หลังคลอดระบบการหายใจของทารกอาจมีปัญหาพัฒนาช้ากว่าปกติ ไม่สามารถหายใจได้เองเมื่อแรกคลอด
3. เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเหลืองหลังคลอดมากกว่าทารกทั่วไป
4. อาจพบระดับน้ำตาลในเลือดทารกต่ำได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลต่อการทำงานของสมอง
ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. มีน้ำหนักเกิน
2. เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนในครรภ์ก่อนหน้า
3. ครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
4. กลุ่มเสี่ยงมีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
5. เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ Polycystic Ovary Syndrome
วิธีป้องกันภาวะอาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุดทั้งก่อนและตลอดการตั้งครรภ์ ดูแลรักษาจากคุณหมออย่างใกล้ชิดแล้ว ตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เองก็ควรควบคุมระดับน้ำตาลโดยการควบคุมอาหาร พยายามลดอาหารจำพวกแป้งหรือน้ำตาลและเพิ่มอาหารพวกโปรตีนและผัก และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น มะม่วงหรือทุเรียน พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์