4 สัญญาณเตือนของอาการหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ยิ่งการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะขาดการออกกำลังกาย กินอาหารจานด่วน มีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน จนกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่
ซึ่งสัญญาณเตือนของอาการหัวใจขาดเลือดจะมีดังต่อไปนี้
1. อาการเจ็บ แน่นหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด หรือกดทับ
2. อาการเจ็บหน้าอกที่ร้าวไปกราม สะบักหลัง แขนซ้าย หัวไหล่
3. อาการอื่นๆร่วม เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น คลื่นไส้ จะเป็นลม หน้าซีด
4. อาการใจสั่น หรือเหนื่อยผิดปกติ
โดยในหลายๆครั้ง อาการเหล่านี้แทบจะแยกจากโรคอื่นๆซึ่งมีอาการคล้ายกันได้ลำบาก เช่น อาจทำให้สับสนกับโรคกดไหลย้อน หรือกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบได้ ดังนั้นจีงไม่ควรละเลยหรือนิ่งนอนใจหากมีอาการดังกล่าว
ผู้สูงอายุหรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงถือเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง และคอยสังเกตอาการของตัวเองเป็นพิเศษ หากมีอาการคล้ายดังที่กล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เมื่อมาพบแพทย์แพทย์จะทำการส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น แสดงลักษณะของการมีหัวใจขาดเลือดหรือไม่
นอกจากนั้นอาจมีการเจาะเลือด การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือในบางรายอาจสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อหาว่ามีการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือไม่ หรือต้องได้รับการสวนหัวใจอย่างเร่งด่วนหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดนั้นมีทั้งชนิดที่แก้ไขไม่ได้ เช่น อายุ เพศ หรือชนิดที่ปรับแก้ไขได้ เช่น การควบคุมไม่ให้ความดันโลหิตสูงผิดปกติ การควบคุมระดับไขมันในเลือด การป้องกันโรคเบาหวานและงดการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผู้สูงอายุหรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงถือเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง และคอยสังเกตอาการของตัวเองเป็นพิเศษ หากมีอาการคล้ายดังที่กล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย เมื่อมาพบแพทย์แพทย์จะทำการส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น แสดงลักษณะของการมีหัวใจขาดเลือดหรือไม่
นอกจากนั้นอาจมีการเจาะเลือด การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือในบางรายอาจสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อหาว่ามีการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือไม่ หรือต้องได้รับการสวนหัวใจอย่างเร่งด่วนหรือไม่
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดนั้นมีทั้งชนิดที่แก้ไขไม่ได้ เช่น อายุ เพศ หรือชนิดที่ปรับแก้ไขได้ เช่น การควบคุมไม่ให้ความดันโลหิตสูงผิดปกติ การควบคุมระดับไขมันในเลือด การป้องกันโรคเบาหวานและงดการสูบบุหรี่ เป็นต้น