Bangpakok Hospital

ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณเตือนโรคช็อคโกแลตซีสต์

1 มิ.ย. 2565



ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือถุงน้ำช็อกโกแลตในทางการแพทย์เรียกว่า “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่” อาจกระจายเกาะอยู่ตามอุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก

นอกจากนี้ยังอาจจะแทรกตัวเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อของผนังมดลูกเกิดภาวะมดลูกโต (Adenomyosis) ทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน และเลือดประจำเดือนออกมาได้

โรคช็อกโกแลตซีสต์จะส่งผลต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างความทรมานให้กับผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ได้ไม่น้อย

ตำแหน่งที่เกาะ

  1. เยื่อบุช่องท้อง อุ้งเชิงกราน
  2. รังไข่
  3. มดลูก
  4. ท่อรังไข่
  5. ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่

อาการเสี่ยงโรคช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์เป็นโรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธ์ ส่วนอาการของช็อกโกแลตซีสต์ไม่ใช่อาการเฉพาะเจาะจงอาจพบในโรคอื่นได้เหมือนกัน โดยอาการเสี่ยงเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้แก่

  1. ปวดท้องมากเวลามีประจำเดือน และจะปวดมากขึ้นทุกๆเดือนโดยจะปวดท้องด้านหน้าตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน ส่วนด้านหลังตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ
  1. ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือนานกว่า 7 วัน และการมีเลือดออกทางช่องคลอดผิกปกติ
  1. ประจำเดือนมาถี่ หรือระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้นกว่าปกติ คือมีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง
  1. ปัสสาวะบ่อย อาจเป็นเพราะก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่ และไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ
  1. ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือปัสสาวะเป็นเลือดในช่วงมีประจำเดือน
  1. เป็นคนผอมแต่มีพุง ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นภายในท้อง
  1. ปวดไมเกรนบ่อย โดยเฉพาะช่วงก่อนและระหว่างมีประจำเดือน
  1. บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แต่คลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อย ซึ่งอาจจะอยู่ตรงกลางหรือด้านข้าง เนื่องจากถุงน้ำโตขึ้นจนมีขนาดและอยู่ในระยะที่เป็นอันตราย
  2. บางรายตรวจพบว่าโรคนี้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก เนื่องจากท่อนำไขตีบตัน ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางได้สะดวกซึ่งเป็นอีกหนึ่งผลพวงที่มีสาเหตุมาจากช็อกโกแลตชีสต์

การตรวจวินิจฉัย

แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจภายใน และในกรณีที่แพทย์ไม่ได้ใจ แพทย์จะทำการอัลตร้าซาวด์ตรวจดูอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และทำ MRI ซึ่งสามารถช่วยบอกความรุนแรงของโรคได้อย่างชัดเจน


วิธีการรักษา

ในบางรายที่อาการไม่รุนแรงมากแพทย์อาจให้สังเกตุและติดตามอาการเป็นระยะ ในบางรายที่มีอาการพอสมควรแพทย์อาจให้รักษาโดยใช้ยา แต่หากใช้ยาไม่ได้ผลจึงจำเป็นต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันแพทย์จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นวิธีมาตรฐานในการผ่าตัดและเป็นวิธีที่ทันสมัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS เป็นเทคนิคในการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้ผ่าตัดจะมีแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวได้เร็ว

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.